ระหว่าง 20 กุมภาพันธ์ 2558 - 26 กุมภาพันธ์ 2558
ภาคเหนือ
ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. ทางตอนล่างอากาศเย็นโดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. ทางตอนล่างอากาศเย็น กับมีฝนบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าโดยเฉพาะทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาคจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณอื่นๆ และเริ่มจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับบางช่วงอาจมีฝนบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผลอ่อน เช่น ลิ้นจี่และลำไย เป็นต้น เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำในช่วงนี้จะทำให้การติดผลลลดลง หรือผลผลิตด้อยคุณภาพ
- สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย เนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้
- ระยะนี้บางช่วงอาจมีหมอกและน้ำค้าง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราแป้งและราน้ำค้างในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืช เสียหายผลผลิตลดลงได้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. อากาศเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. อากาศเย็น กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ระยะนี้อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงเปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อนนี้
- สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝน ในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรลดความชื้น ก่อนนำเข้าโรงเก็บเพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหายในโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร
- แม้บางพื้นที่จะมีฝนตก แต่เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรรอไปก่อนให้มีฝนตกสม่ำเสมอแล้วค่อยลงมือปลูกเพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในช่วงการเจริญเติบโต
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป และควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลอ่อนเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ
- ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- ทางตอนบนของภาคสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ทำให้ผลผลิตเสียหาย และด้อยคุณภาพ
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรงดให้น้ำรอจนกว่าจะเห็นดอกชัดเจนแล้วจึงค่อยให้น้ำโดยให้น้ำพืชในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น
- ส่วนทางตอนล่างของภาคซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชผัก และไม้ผล ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตเสียหาย
- เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรงดให้น้ำรอจนกว่าจะเห็นดอกชัดเจนแล้วจึงค่อยให้น้ำโดยให้น้ำพืชในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น
- ส่วนทางตอนล่างของภาคซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชผัก และไม้ผล ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตเสียหาย
- เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74