ระหว่าง 13 กรกฎาคม 2558 - 19 กรกฎาคม 2558
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- สัปดาห์นี้ทางตอนบนของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้น จะส่งผลดีกับพืชไร่และพืชผักที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต รวมทั้งช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด
- ส่วนลำไยที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลใกล้เก็บเกี่ยว ชาวสวนควรหมั่นสำรวจหากพบผลที่เน่าเสีย หรือแมลงเข้าทำลาย ควรปลิดออกและนำไปกำจัดเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังผลอื่นๆ
- สำหรับพื้นที่ ที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในระยะที่มีฝนตกน้อย หรือฝนทิ้งช่วง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- สัปดาห์นี้ทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อพืชไร่และพืชผักที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต รวมทั้งช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด
- ส่วนผู้ที่ปลูกมันสำปะหลังด้านตะวันตกของภาค ชาวไร่ควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้ง และไรแดงที่จะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ หากพบควรรีบกำจัดก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- สัปดาห์นี้แม้จะมีฝน แต่บริมาณและการกระจาย ยังไม่เพียงพอกับความต้องของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติม และควรให้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำเฉพาะบริเวณทรงพุ่ม หรือใช้วิธีน้ำหยด รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน
- สำหรับทางตอนบนของภาคอากาศร้อน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันสัตว์อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และจัดหาน้ำกินให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
- สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก ทำให้พืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้
- สำหรับสวนผลไม้ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง และขั้วผล และทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นาน
- อนึ่ง ในระยะนี้ บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 16 – 19 ก.ค.
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
- ช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล และผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน หากพบควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้ผลเน่าเสียและลุกลามไปยังผลอื่นๆ
- อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 16 – 19 ก.ค.
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค. ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
- สัปดาห์นี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก
- ช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล และผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน หากพบควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้ผลเน่าเสียและลุกลามไปยังผลอื่นๆ
- อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 16 – 19 ก.ค.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74