พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 ตุลาคม 2558 - 25 ตุลาคม 2558

ข่าวทั่วไป Monday October 19, 2015 14:16 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 19 ตุลาคม 2558 - 25 ตุลาคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ตอนบนของภาคมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • ระยะนี้เกษตรกรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตจะลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บเอาไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนเปลี่ยนฤดู สภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับข้าวนาปี ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกอ หนอนกระทู้ และหนอนห่อใบข้าว เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ส่วนระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตนเองเอาไว้ด้วย และวัสดุสำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนสำหรับสัตว์เลี้ยงเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อย แทนการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืช

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1- 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • สำหรับ เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลในช่วงปลายฤดูฝนควรตัดแต่งกิ่งโดยเฉพาะกิ่งน้ำค้าง กิ่งที่ไขว้กัน และกิ่งที่มีโรคและแมลงทำลาย แล้วนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อน ของโรคและศัตรูพืช
  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วงในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูฝนของทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้นโดยในภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูก
  • สำหรับชาวสวนผลไม้ ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ หญ้าแห้ง และกิ่งไม้ผุ บริเวณโคนต้นพืช เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูฝนของทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้นโดยในภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูก
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ