พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 มกราคม 2559 - 17 มกราคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday January 11, 2016 14:36 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 มกราคม 2559 - 17 มกราคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 11 - 14 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 10-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณ ยอดดอย อากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 17 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณ ยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 5-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอากาศที่เย็นทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

*ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน ให้แก่สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น จนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ที่ไม่แข็งแรงป่วยและตายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11 - 14 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภู อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

*ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอากาศที่เย็นทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

*สำหรับฝนที่ตกทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพื่อไม่ให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 11-12 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่ พืชผัก และไม้ผล ที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง เพราะหากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 11-12 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

*ระยะนี้จะมีฝนตกน้อย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืช โดยเริ่มจากปริมาณน้อยๆแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟในทุเรียน เพลี้ยจักจั่นในมะม่วง เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต การติดดอกออกผลลดลง โดยเฉพาะเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง อาจเป็นสาเหตุของโรคราดำในมะม่วงได้

*นอกจากนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดสัปดาห์ อ่าวไทยตอนบน: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อ่าวไทยตอนล่าง: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้สภาพอากาศแห้งกับมีฝนตกน้อย ทำให้น้ำระเหยจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่ พืชผัก และไม้ผล อย่างเพียงพอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

*นอกจากนี้ควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยง เช่น เพลี้ยอ่อนในพืชผักสวนครัว และเพลี้ยไฟในไม้ผล เป็นต้น ซึ่งทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดสัปดาห์ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้สภาพอากาศแห้งกับมีฝนตกน้อย ทำให้น้ำระเหยจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่ พืชผัก และไม้ผล อย่างเพียงพอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

*นอกจากนี้ควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยง เช่น เพลี้ยอ่อนในพืชผักสวนครัว และเพลี้ยไฟในไม้ผล เป็นต้น ซึ่งทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ