พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 กุมภาพันธ์ 2559 - 03 มีนาคม 2559

ข่าวทั่วไป Friday February 26, 2016 13:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 26 กุมภาพันธ์ 2559 - 03 มีนาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 26 ก.พ.-2 มี.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ทางตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น มีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาบางพื้นที่ สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้ยังคงมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ตนเอง อย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ยังมีปริมาณน้อย ชาวสวนลิ้นจี่ และลำไย ที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง ผลผลิตเสียหาย รวมทั้งป้องกันกำจัด มวนลำไย และหนอนเจาะกิ่งและลำต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ส่วนเกษตรกรที่ต้องการเตรียมพื้นที่เพราะปลูก ไม่ควรเผาตอซังข้าว และซังข้าวโพด เพราะไฟอาจจะลุกลามทำให้เกิดอัคคีภัยและไฟป่าได้ รวมทั้งควันไฟจากการเผาไหม้จะทำให้ทัศนวิสัยลดลง และเกิดเป็นมลพิษทางอากาศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 26 ก.พ.- 1 มี.ค. อากาศหนาว กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่องและมีลมแรง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมและเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนโดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับสภาพอากาศแห้งและลมแรง ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและต้นพืชมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน รวมทังระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งและไรแดงในมันสำปะหลัง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 26ก.พ.-1 มี.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับสภาพอากาศเย็นและแห้ง ชาวสวนส้มโอ ที่อยู่ในระยะแตกใบอ่อนและออกดอก ระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด โดยเฉพาะเพลี้ยไฟ และเพลี้ยไก่แจ้ส้ม ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ใบหงิกงอ ดอกแห้งและไม่ติดผล ชาวสวนควรหมั่นสำรวจ หากพบควรตัดแต่งส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 26ก.พ.-1 มี.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. อากาศเย็นกับหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้ ยังคงมีสภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน หากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง ผลผลิตเสียหาย และกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟในมังคุด เพลี้ยไก่แจ้และไรแดงในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 26ก.พ.-1 มี.ค. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ แม้จะมีฝน แต่ปริมาณและการกระจายของฝน ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวก ปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็น
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วง การติดผลลดลง และหากปริมาณดอกมีมากเกินไปควรตัดแต่งช่อดอกให้เหลือพอดีกับขนาดของกิ่ง เพื่อลดการแย่งอาหารและน้ำของดอก
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 26ก.พ.-1 มี.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ส่วนเรือเล็กในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ.-3 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ แม้จะมีฝน แต่ปริมาณและการกระจายของฝน ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวก ปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็น
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วง การติดผลลดลง และหากปริมาณดอกมีมากเกินไปควรตัดแต่งช่อดอกให้เหลือพอดีกับขนาดของกิ่ง เพื่อลดการแย่งอาหารและน้ำของดอก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ