ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ
ระหว่าง 25 กรกฎาคม 2559 - 31 กรกฎาคม 2559
ภาคเหนือ
- ข้าวนาปี : ในช่วงที่มีฝนตกชุก ชาวนาควรระวังป้องกันโรคไหม้
- ลำไย : ระยะนี้ดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า และไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสีย ร่วงหล่นกองอยู่ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
- ไม้ดอก : เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้น เกษตรกรควรระวังป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ข้าวนาปี : สภาพอากาศมีความชื้น ชาวนาควรระวังโรคไหม้ และไม่ควรหว่านกล้าแน่นเกินไป
- พืชไร่ : เนื่องจากดินและอากาศมีความชื้น เกษตรกร ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น
- สัตว์เลี้ยง: ในช่วงฤดูฝน เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
- ข้าว : ระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน และโรคไหม้
- สัตว์น้ำ : ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตกใหม่
- สัตว์เลี้ยง: ระวังป้องกันศัตรูสัตว์มารบกวน(เหลือบ ริ้น ไร เป็นต้น)
ภาคตะวันออก
- ไม้ผล : ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวัง โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า และโรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น
- พริกไทย : ดินมีความชื้นสูง ระวังป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า
- พืชไร่ : เนื่องจากดินและอากาศมีความชื้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคยอดเน่าในสับปะรด เป็นต้น
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
- ไม้ผล : (ระยะเจริญเติบโตทางผล) : ตัดแต่งผลที่โตไม่ได้ขนาด ผลที่มีโรคและศัตรูพืชทำลายทิ้ง รวมทั้งระวังป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน และไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียกองอยู่ในบริเวณสวน ควรนำไปกำจัด
- กาแฟ : สภาพอากาศชื้น : ระวังโรคราสนิม
- ยางพารา: สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง ระวังป้องกันโรคใบยางร่วง ลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
- สัตว์น้ำ (ในบ่อ) : มีฝนตกหนัก ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
- กาแฟ (ฝั่งตะวันตก) : สภาพอากาศชื้น : ระวังโรคราสนิม
- ยางพารา(ฝั่งตะวันตก) : สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง ระวังป้องกันโรคใบยางร่วง ลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
- สัตว์น้ำ(ในบ่อ) : มีฝนตกหนัก ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74