พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 16 ธันวาคม 2559 - 22 ธันวาคม 2559

ข่าวทั่วไป Friday December 16, 2016 14:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 16 ธันวาคม 2559 - 22 ธันวาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-19 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยในวันที่ 16-17 ธ.ค. บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 20-22 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ และอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • พื้นที่ทางการเกษตร อากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป ส่วนยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยหลีกเลี่ยงการให้น้ำแก่พืชในช่วงเย็น
  • สัตว์น้ำ ช่วงที่อากาศเย็นลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เพราะอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และเป็นการช่วยเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
  • ไม้ดอกและพืชผัก อากาศที่เย็นลง จะเป็นผลดีต่อไม้ดอก และพืชผัก เมืองหนาว ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ และลดการระบาดของแมลงศัตรูพืช แต่เกษตรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เนื่องจากหมอกและน้ำค้างในระยะนี้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยในวันที่ 16 ธ.ค. บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 19-22 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส

  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน และทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน ป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พื้นที่การเกษตร สภาพอากาศแห้งกับมีลมแรง ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยในวันที่ 16 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. และ ในช่วงวันที่ 19-22 ธ.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชควรมีน้ำสำรองให้พืชในระยะเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงผลิดอกออกผลเป็นช่วงที่พืชต้องการน้ำมากกว่าระยะอื่นๆ หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • สัตว์เลี้ยง อากาศเย็นกับมีลมแรง เกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน ป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และ ในช่วงวันที่ 19-22 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะก่อนออกดอก เกษตรกรควรงดให้น้ำ เพื่อให้ต้นเตรียมแทงช่อดอก รอจนเห็นดอกชัดเจนแล้วจึงค่อยให้น้ำโดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและแมลงศัตรูพืช
  • สัตว์น้ำ อากาศที่เย็นลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เพราะอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และเป็นการช่วยเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 19-22 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การ เกษตร พื้นที่การเกษตรที่มีน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • ไม้ผล/กาแฟ ฝนที่ตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 19-22 ธ.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การ เกษตร พื้นที่การเกษตรที่มีน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • ไม้ผล/กาแฟ ฝนที่ตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

หมายเหตุสำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตรในวันที่ 16 - 22 ธันวาคม 2559

ปริมาณฝนสะสมเดือนธันวาคม ( 1-15 ธ.ค.) ประเทศไทยตอนบนมีฝนสะสมเล็กน้อย โดยมีฝนสะสมน้อยกว่า 25 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมระหว่าง 100-600 มม.ส่วนบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา มีปริมาณฝนสะสม 600-1,000 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่างด้านตะวันตก ส่วนบริเณอื่นๆไม่มีรายงานฝนตก โดยมีฝนสะสมน้อยกว่า 20 มม. สำหรับภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องโดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งมีปริมาณฝนสะสมสูงสุดประมาณ 40-70 มม. บนิเวณ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ส่วนบริเวณอื่นๆ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกและทางตอนล่างของภาค มีปริมาณฝนสะสมน้อย โดยมีฝนสะสมน้อยกว่า 20 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-25 มม.

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนสมดุลน้ำมีค่าเป็นลบ โดยมีค่าสมดุลน้ำสะสม(-10)(-30) มม.สำหรับบริเวณตอนกลางของภาคใต้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกเนื่องจากมีฝนตกหนักต่อเนื่อง โดยมีค่าน้ำสะสม 10 -70 มม. ส่วนบริเวณภาคใต้ตอนบนและตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ โดยมีค่าสมดุลน้ำระหว่าง (-1)(-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่ และค่าสมดุลน้ำเป็นลบ และในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีฝนตกน้อย ดังนั้นที่ปลูกพืชผักหรือพืชชนิดอื่นๆควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติม สำหรับภาคใต้โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกยังมีฝนตกต่อไปอีก พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกอย่าให้มีน้ำท่วมขังบริเวรโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและเน่า นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักเอาไว้ด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ