พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 30 ธันวาคม 2559 - 05 มกราคม 2560

ข่าวทั่วไป Friday December 30, 2016 14:11 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 30 ธันวาคม 2559 - 05 มกราคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 30 -31 ธ.ค. 59 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-9 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ม.ค. 60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 2-3 ม.ค. 60 กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 1-5 ม.ค. 60 จะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในวันที่ 2-3 ม.ค. 60 จะมีลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร และอาคารบ้านเรือน ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงเวลาดังกล่าว
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นเกษตรกร ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หากพบสัตว์เจ็บป่วยควรแยกออกแล้วทำการรักษา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 59 - 5 ม.ค. 60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 59 - 1 ม.ค. 60 อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สัตว์น้ำ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ เช่นปลา ในช่วงที่อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอากาศที่เย็นสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำจะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เล็ก และหมั่นสำรวจสัตว์เลี้ยงหากพบสัตว์เจ็บป่วยควรแยกออกแล้วทำการรักษา

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 30 - 31 ธ.ค. 59 อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ม.ค. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับสภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารลง เพราะในช่วงที่อากาศเย็นสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย ส่งผลให้อาหารเหลือทำให้น้ำเน่าเสียสัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 59 -5 ม.ค. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไร ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต การออกดอกและติดผลลดลง
  • พื้นที่การเกษตร สำหรับสภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. 59 -5 ม.ค. 60 อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. 59 - 4 ม.ค. 60 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทางตอนล่างของภาค จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนัก และน้ำท่วมที่อาจจะเกิดไว้ด้วย
  • ไม้ผล สวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. 59 – 4 ม.ค. 60 บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 30-31 ธ.ค. มีฝนฟ้า คะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 -5 ม.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 1 -3 ม.ค. 60 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ภาคใต้ทางตอนล่างของภาค จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนัก และน้ำท่วมที่อาจจะเกิดไว้ด้วย
  • ไม้ผล สวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตรในวันที่ 30 ธ.ค. 59 - 5 ม.ค. 60

ปริมาณฝนสะสมเดือนธันวาคม ( 1-29 ธ.ค.) ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่ สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 50-1,200 มม. โดยทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝน 400-1,200 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่ โดยปริมาณฝนสะสมน้อยกว่า 5 มม. ในภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 10-100 มม.เป็นส่วนใหญ่ โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกมากว่าบบริเวณอื่น โดยมีปริมาณฝนสะสม 25-100 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม.

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าเป็นลบ โดยมีค่าสมดุลน้ำสะสม(-10)(-30) มม. สำหรับบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกเนื่องจากมีฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา โดยมีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-100 มม. โดยบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ โดยมีค่าระหว่าง (-1)-(-20) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาประเทศไทยตอนบนมีค่าวสมดุลน้ำเป็นลบ และในช่วง 7 วันข้างหน้ายังคงไม่มีฝนตก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม เว้นแต่ภาคเหนือจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ ดังนั้นเกษตรกรควรระมัดระวังผลผลิตทางการเกษตร เช่น ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และงดการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เป็นต้น สำหรับภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกจะยังคงมีฝน พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกอย่าให้มีน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ