พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 13 กุมภาพันธ์ 2560 - 19 กุมภาพันธ์ 2560

ข่าวทั่วไป Monday February 13, 2017 11:23 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 13 กุมภาพันธ์ 2560 - 19 กุมภาพันธ์ 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-16 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-13 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้ยังคงมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กเพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน
  • พืชไร่ ในระยะนี้จะไม่มีฝนตกกับมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป อาจทำให้พืชไร่ เช่นถั่วเหลืองและถั่วเขียว ชะงักการเจริญเติบโตหรือเติบโตช้าเกษตรกรควรหมั่นสำรวจพืชที่ปลูกและให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและควรคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. จะมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราสนิม ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-15 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส ลม ตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้ยังคงมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังการเกิดอัคคีภัย โดยไฟดับให้สนิททุกครั้งหลังจากจุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่น
  • พื้นที่การเกษตร สำหรับสภาพอากาศแห้งและมีลมแรง ทำให้น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • สัตว์น้ำ ระยะนี้อากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัตว์น้ำเครียด กินอาหารได้น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำจึงควรลดปริมาณอาหารที่ให้ตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย รวมทั้งควรให้อาหารในช่วงเวลาที่มีแสงแดด เพราะจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้มากขึ้น

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 13-16 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พืชไร่ ในระยะนี้จะไม่มีฝนตกกับมีอากาศอากาศแห้งทำให้พืชไร่ เช่นอ้อยและข้าวโพด ชะงักการเจริญเติบโตหรือเติบโตช้าเกษตรกรควรหมั่นสำรวจพืชที่ปลูกและให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและควรคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. จะมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยง ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 13-16 ก.พ. อากาศเย็น และลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับสภาพอากาศแห้งและมีลมแรง ทำให้น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและควรคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย
  • ไม้ผล ระยะนี้อากาศแห้งเหมาะกับการระบาดของของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม และการติดผลลดน้อยลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

อากาศเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 17-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 13- 16 กพ.ตั้งแต่ จ.ชุมพรขึ้นมา ลม ตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 17-19 กพ.ตั้งแต่ จ.ชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะ ที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • ยางพารา ระยะนี้แม้ปริมาณฝนจะลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และอาจตายได้ สำหรับบริเวณที่น้ำลดลงแล้ว ชาวสวนควรรีบพื้นฟู กำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 13-16 ก.พ. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง ควรระวังและป้องกันความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หากสัตว์น้ำโตได้ขนาดควรทะยอยจับขายไปก่อนบางส่วน เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 13- 16 กพ. 60 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 17-18 กพ. 60 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะ ที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • ยางพารา ระยะนี้แม้ปริมาณฝนจะลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และอาจตายได้ สำหรับบริเวณที่น้ำลดลงแล้ว ชาวสวนควรรีบพื้นฟู กำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ