พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 03 มีนาคม 2560 - 09 มีนาคม 2560

ข่าวทั่วไป Friday March 3, 2017 14:39 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 03 มีนาคม 2560 - 09 มีนาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-7 มี.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เช่น ลิ้นจี่และลำไย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากระยะนี้จะมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกร ควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิต ไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกษตรกร ควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-6 มี.ค. มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้สภาพอากาศแห้งและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้มีการสูญเสียน้ำจากดินและพืชได้มาก เกษตรกร ควรให้น้ำแก่พืชที่ปลูกอย่างเพียงพอและคลุมแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยน้ำจากดิน รวมทั้งระวังการระบาดของศัตรูพืช จำพวกเพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 7 – 9 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอาคารบ้านเรือน และพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้

ภาคกลาง

มีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 8-9 มี.ค.60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก เฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าว ระยะนี้สภาพอากาศร้อนชื้น เนื่องจากมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้าและกลางวันอากาศร้อน ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไหม้ข้าว เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนา หากพบควรรีบควบคุม ก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง ส่วนชาวนาที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ควรหันมาปลูกพืชอายุการเก็บเกี่ยวสั้นใช้น้ำน้อย แทนการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อลดความเสี่ยงจากนาข้าวขาดน้ำในช่วงหน้าแล้ง
  • พืชไร่ / ไม้ผล / ไม้ดอก/พืชผัก ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวก เพลี้ยและไรชนิดต่างๆใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกษตรกร ควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4- 8 มี.ค. 60 มีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในวันที่ 6-9 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร

  • ไม้ผล สภาพอากาศที่แห้ง ไม้ผลที่ อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำสม่ำเสมอและเพียงพอ เพื่อป้องกันผลแคระแกร็นและร่วงหล่น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 6-9 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • สัตว์น้ำ สภาพอากาศร้อน และแห้งในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยออกจากแหล่งน้ำมาก เกษตรกรควรดูแลปริมาณสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำเพื่อไม่ให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเนื่องจากอุณหภูมิที่สูง เกษตรกรควรระวังการเน่าเสียของอาหารสัตว์ ซึ่งจะส่งผลให้น้ำเน่าเสีย และปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 4-9 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อยประกอบกับมีการคายน้ำจากดินและพืชมาก ทำให้ปริมาณน้ำที่เหลือไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร
  • ไม้ผล เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม และควรตัดแต่งใบแก่ และกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มที่ใบไม่ได้รับแสงแดดออก ให้เป็นทรงพุ่มโปร่ง เพื่อลดการคายน้ำของพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อยประกอบกับมีการคายน้ำจากดินและพืชมาก ทำให้ปริมาณน้ำที่เหลือไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร
  • ไม้ผล เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม และควรตัดแต่งใบแก่ และกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มที่ใบไม่ได้รับแสงแดดออก ให้เป็นทรงพุ่มโปร่ง เพื่อลดการคายน้ำของพืช

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ