ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ
ระหว่าง 19 พฤษภาคม 2560 - 25 พฤษภาคม 2560
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.
สัตว์เลี้ยง ฝนที่ตกต่อเนื่องในระยะนี้ทำให้อากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลโรงเรือนให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ให้อับชื้นเพี่อป้องกันสัตว์อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัดในสัตว์ปีกและสุกร รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคแก่สัตว์เลี้ยง
พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงเพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศจนต้นพืชยืนต้นตายได้ และควรรีบพื้นฟูสภาพสวนให้กลับมาใช้ได้ดีดังเดิม นอกจากนั้นควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหาย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.
พืชไร่/ พืชผัก ฝนที่ตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ และพืชผัก เช่น โรคใบขาวในอ้อย และโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำ เกษตรกรควรดูแลแปลงปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรชุบท่อนพันธุ์หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และดูแลระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ
สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ในระยะนี้ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้ รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคแก่สัตว์เลี้ยง
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.
พืชไร่ ฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงนี้ ควรชุบท่อนพันธุ์และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกัน เชื้อรา
สัตว์น้ำ ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่องตลอดช่วง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยงโดยเฉพาะหลังจากที่มีฝนตกซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของน้ำและสภาพน้ำเปลี่ยน อาจจะทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส
ไม้ผล สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนัก อาจส่งผลกระทบต่อไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคผลเน่าในทุเรียน เงาะ ลองกอง และฝรั่ง เป็นต้น รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะผลในทุเรียน หนอนเจาะขั้วผลในเงาะ ซึ่งจะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหาย
พืชไร่/พืชผัก ฝนที่ตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ และพืชผัก เกษตรกรควรดูแลแปลงปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรชุบท่อนพันธุ์หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และดูแลระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 22-25 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 22 - 25 พ.ค. จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรได้ โดยเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่ที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยการจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
ยางพารา ระยะนี้จะมีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ผู้ที่ปลูกยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 21-25 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 22 - 25 พ.ค. จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรได้ โดยเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่ที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยการจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
ยางพารา ระยะนี้จะมีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ผู้ที่ปลูกยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 21-25 พ.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74