พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 05 มิถุนายน 2560 - 11 มิถุนายน 2560

ข่าวทั่วไป Monday June 5, 2017 15:02 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 05 มิถุนายน 2560 - 11 มิถุนายน 2560

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 5 - 9 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรเตรียมป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วมขังในแปลงปลูก เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนในแปลงนาข้าวที่อยู่ในที่ลุ่มบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ชาวนาควรเสริมคันนาเพื่อป้องกันน้ำหลากท่วมนาข้าว
  • ไม้ผล เนื่องจากระยะนี้อากาศมีความชื้นสูง สำหรับไม้ผลที่กำลังเจริญเติบโตทางผล เช่น ลำไย ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผล เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผลร่วงหล่น และในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. จะมีฝนตกหนังบางแห่ง ชาวสวนควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5 - 9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตรเนื่องจากระยะที่ผ่านมาหลายพื้นที่มีฝนตกน้อยกว่าอัตราการสูญเสียน้ำจากการระเหยน้ำและการคายน้ำของพืช และในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ซึ่งจะเป็นผลดีสำหรับกล้าข้าวที่กำลังเจริญเติบโต บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
  • พืชไร่/ผัก เนื่องจากระยะที่ผ่านมาหลายพื้นที่มีฝนตกน้อย ประกอบกับระยะนี้แม้จะมีฝนแต่การกระจายอาจไม่คลอบคลุมทุกพื้นที่ เกษตรกรที่เริ่มปลูกพืชไร่และผักชนิดต่างๆ ควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตชนิดของพืช รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ เช่น หนอนกระทู้ผัก เป็นต้น

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5 - 9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มโดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของภาค เกษตรกรควรเตรียมป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วมขังในแปลงปลูก เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • พืชผัก/พืชไร่ระยะนี้อากาศมีความชื้นสูงโดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของภาค เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชไร่ช่วงต้นฤดูฝน เช่น ข้าวโพดและพืชผักต่างๆ เป็นต้น ควรระวังและป้องกันการะบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรคเน่าคอดินในพืชผัก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5 - 9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มได้ เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ รวมทั้งระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า และโคนเน่า เป็นต้น
  • ยางพาราเนื่องจากระยะที่ผ่านมามีฝนตกต่อเนื่องและในระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด ซึ่งอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำและโรคราสีชมพู เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบควรรีบกำจัด
  • ชาวประมงในช่วงวันที่ 5 – 11 มิ.ย. ชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 5 - 9 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกและตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยการจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • ไม้ผลเนื่องจากระยะที่ผ่านมาบริเวณตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนน้อยกว่าปริมาณน้ำที่สูญเสียโดยการคายน้ำของพืชและการระเหยน้ำ ประกอบกับระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่บางพื้นที่มีปริมาณฝนไม่เพียงพอกับความต้องการของไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน ดังนั้นผู้ที่ปลูกไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อนควรจัดหาน้ำให้แก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันผลผลิตแคระเกร็นและร่วงหล่น
  • ชาวเรือและชาวประมงในช่วงวันที่ 5 – 11 มิ.ย. ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 5 - 8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้า คะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกและตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยการจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • ไม้ผลเนื่องจากระยะที่ผ่านมาบริเวณตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนน้อยกว่าปริมาณน้ำที่สูญเสียโดยการคายน้ำของพืชและการระเหยน้ำ ประกอบกับระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่บางพื้นที่มีปริมาณฝนไม่เพียงพอกับความต้องการของไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน ดังนั้นผู้ที่ปลูกไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อนควรจัดหาน้ำให้แก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันผลผลิตแคระเกร็นและร่วงหล่น
  • ชาวเรือและชาวประมงในช่วงวันที่ 5 – 11 มิ.ย. ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ