พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 09 มิถุนายน 2560 - 15 มิถุนายน 2560

ข่าวทั่วไป Friday June 9, 2017 14:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 09 มิถุนายน 2560 - 15 มิถุนายน 2560

ภาคเหนือ

วันที่ 9 และในช่วงวันที่ 13-15 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลถึงผลแก่และเก็บเกี่ยว เช่น ลำไย และลิ้นจี่ เป็นต้น เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ถูกศัตรูพืชทำลาย เน่าเสียและร่วงหล่น กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินและอากาศมีความชื้นสูง
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก หลังคาไม่รั่วซึม พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรหมั่นสำรวจโรงเรือน เพราะอาจมีสัตว์มีพิษเข้ามาอาศัยหลบฝนในโรงเรือนและอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ หากพบควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 9 และในช่วงวันที่ 13-15 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พืชไร่/พืชผัก ในช่วงฤดูฝนดินและอากาศจะมีความชื้นสูง โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชผักควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในแปลงปลูก ป้องกันโรคดังกล่าว
  • สัตว์น้ำ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกใหม่ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ไม้ผล ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในอากาศ แสงแดดส่องได้ทั่วถึงโคนต้นและพื้นดิน ทำให้ดินแห้งแร็ว ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน
  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงฤดูฝนวัชพืชต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก และเป็นการลดความชื้นเนื่องจากวัชพืชจะคลุมดิน แสงแดดส่องไม่ทั่วถึง เป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เนื่องจากโรคและศัตรูพืชพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโต ได้ในวัชพืช

ภาคตะวันออก

วันที่ 9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 15 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ระยะนี้มีฝนตกชุก ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เช่น เงาะและทุเรียน เป็นต้น เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นเน่าเสีย ตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ภายในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัด เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโธรา ซึ่งสามารถลุกลามจากเปลือกและผลที่เน่าเสียมาสู่ต้นไม้ผลได้
  • พืชไร่ ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชผักควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลบริเวณแปลงปลูกพืชให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในพื้นที่เพาะปลูกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส

  • พืชสวน/พืชผัก ระยะนี้แม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกชุก ทำให้น้ำในดินยังคงมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะที่ผ่านมามีฝนตกชุก ทำให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรหมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก และเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืชบางชนิดได้ เนื่องจาก โรคและศัตรูพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในวัชพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง วันที่ 9 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. จังหวัดระนองขึ้นไป ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร จังหวัดภูเก็ตลงมา ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 15 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • พืชสวน/พืชผัก ระยะนี้แม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกชุก ทำให้น้ำในดินยังคงมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะที่ผ่านมามีฝนตกชุก ทำให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรหมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก และเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืชบางชนิดได้ เนื่องจาก โรคและศัตรูพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในวัชพืช
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงนี้ บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2- 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ