พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 2 - 8 สิงหาคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday August 2, 2017 15:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 02 สิงหาคม 2560 - 08 สิงหาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

พืชไร่/ ไม้ผล/พืชผัก สำหรับสภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้

สัตว์เลี้ยง สำหรับสภาพอากาศที่แปรปรวน เกษตรกรควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และดูแลคอกสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

สัตว์เลี้ยง สำหรับฝนที่ตกหนักทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้สัตว์เลี้ยงเครียด ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลงและอาจจะติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรควรหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยง หากพบสัตว์ที่เจ็บป่วยให้รีบแยกออกแล้วทำการรักษา และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ ซึ่งเป็นโรคระบาดที่สำคัญใน โค กระบือ แพะ แกะ และสุกร

ข้าวนาปี สำหรับนาข้าวที่ไม่ถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ ซึ่งจะระบาดมากในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ ซึ่งหอยเชอรี่ดังกล่าวจะเข้ามาแพร่พันธุ์ในแปลงนา และกัดกิน ต้นข้าว

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 3-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

นาข้าว สำหรับนาข้าวที่อยู่ในที่ลุ่มหรืออยู่ใกล้แม่น้ำ เกษตรกรควรเสริมคันนาเพื่อป้องกันน้ำหลากท่วมนาข้าว และจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก

สัตว์น้ำ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเสริมขอบบ่อให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันน้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ ซึ่งจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกแล้วเกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 3-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะทางล่างของภาค สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยปรับปรุงจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก

สัตว์น้ำ ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่อง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยงโดยเฉพาะหลังจากที่มีฝนตกซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของน้ำและสภาพน้ำเปลี่ยน อาจจะทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 3-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

พื้นที่การเกษตร ระยะนี้บริเวณฝั่งตะวันตกของภาคจะมีฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่งแต่จะครอบคลุมพื้นที่เฉพาะบางจังหวัด เช่น พังงาและระนอง เกษตรกรในบริเวณดังกล่าวควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนที่ตก ส่วนบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกน้อย และในช่วง 7 วันข้างหน้า แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณฝนยังไม่เพียงพอต่อความการน้ำของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

ยางพารา ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวัง และป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า ซึ่งอาจทำให้หน้ากรีดยางและต้นยางเสียหายได้

ชาวประมง ในช่วงวันที่ 3 - 8 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามัน และบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 3-6 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -40 กม./ชม. จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร จังหวัดกระบี่ลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 3-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

พื้นที่การเกษตร ระยะนี้บริเวณฝั่งตะวันตกของภาคจะมีฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่งแต่จะครอบคลุมพื้นที่เฉพาะบางจังหวัด เช่น พังงาและระนอง เกษตรกรในบริเวณดังกล่าวควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนที่ตก ส่วนบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกน้อย และในช่วง 7 วันข้างหน้า แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณฝนยังไม่เพียงพอต่อความการน้ำของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

ยางพารา ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวัง และป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า ซึ่งอาจทำให้หน้ากรีดยางและต้นยางเสียหายได้

ชาวประมง ในช่วงวันที่ 3 - 8 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามัน และบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ