พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 22-28 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 153/60
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22-25 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศหนาวเย็น สำหรับภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดพัทลุงลงไป จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบน รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนเกิดขึ้นได้บางแห่ง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 22-24 ธ.ค. สำหรับเกษตรกรในภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดพัทลุงลงไป ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร และเรือเล็กบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่ง ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ระวังคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ในช่วงวันที่ 22-25 ธ.ค.
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 22-24 ธ.ค.ตอนบนของภาค อากาศหนาวตอนล่างของภาคอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้าในช่วงวันที่ 25-28 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกใน ตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 26-28 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 23-29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-7 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศหนาวโดยทั่วไป เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และดับไฟให้สนิททุกครั้ง หลังจากจุดไฟผิงให้ความอบอุ่น เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย
- อากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่องทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารที่ให้ เพื่อป้องกันอาหารเหลือ จะทำให้น้ำเน่าเสีย และควรให้อาหารในช่วงเวลาที่มีแสงแดดเพราะจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้มากขึ้น รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำและปรับอุณหภูมิน้ำในบ่อเลี้ยง
- ในช่วงวันที่ 26-28 ธ.ค. จะมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น2-4 องศาเซลเซียส ตลอดช่วง กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้น ในช่วงวันที่ 26-28 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 10-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศหนาวโดยทั่วไปกับมีลมแรง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่ให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เช่น ทำแผงกำบังลมหนาวหรือเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงปลาในกระชัง ควรลดปริมาณอาหาร เพราะช่วงที่อากาศเย็น ปลาจะกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย รวมทั้งลดปริมาณปลาให้น้อยลงเพื่อไม่ให้ปลาอยู่อย่างแออัด กระทบกระทั่งกันทำให้เกิดแผลติดเชื้อได้ง่าย
- ในช่วงวันที่ 26-28 ธ.ค. จะมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้น ในช่วงวันที่ 26-28 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ทางตอนบนของภาคยังคงมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่องผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่ให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- เนื่องจากระยะนี้อากาศแห้งและมีแสงแดดจัด ทำให้อัตราการระเหยของน้ำจากดินมีมากขึ้น เกษตรกรจึงควรให้น้ำแก่พืชที่ปลูกอย่างสม่ำ เสมอเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และควรนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคลุมโคนต้นพืช เพื่อรักษาความชื้นในดิน
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 26-28 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 22-24 ธ.ค.ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรในช่วงวันที่ 25-28 ธ.ค.ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- เนื่องจากระยะนี้อากาศแห้งและมีแสงแดดจัด ทำให้อัตราการระเหยของน้ำจากดินมีมากขึ้น เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชผัก ควรให้น้ำแก่พืชที่ปลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และควรนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคลุมโคนต้นพืช เพื่อรักษาความชื้นในดิน
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในช่วงที่อากาศเย็น สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยลงทำให้สัตว์น้ำเจริญเติบโตช้า และอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย เกษตรกรควรลดปริมาณอาหารลง รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำและปรับอุณหภูมิน้ำในบ่อเลี้ยง
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 22-24 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ในช่วงวันที่ 25-28 ธ.ค. ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 22-26 ธ.ค. ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมาก ตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 27-28 ธ.ค. ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 22-24 ธ.ค. ภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรรีบฟื้นฟูให้ใช้ได้ดีดังเดิม
- สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีปริมาณและการกระจายฝนน้อยกับมีน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่ปลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง รวมทั้งนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคลุมโคนต้นพืช เพื่อรักษาความชื้นในดิน
- ในช่วงวันที่ 20-25 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตรเกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 22-28 ธันวาคม 2560
ปริมาณฝนสะสมเดือนธันวาคม (ในช่วงวันที่ 1-21 ธ.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสม ต่ำกว่า 50 มม. โดยฝนส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคกลางตอนล่าง สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสม น้อยกว่า 5 มม.ส่วนมากทางตอนล่างของภาคกลางและภาคตะวันออกด้านตะวันตก สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-25 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางด้านตะวันออก และภาคตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม.
สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-10)-(-40) มม.เป็นส่วนใหญ่ ส่วนภาคใต้ มีค่าสมดุลน้ำสะสม(-20)-70 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกเป็นส่วนใหญ่
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมน้อย ส่วนในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนน้อย แต่ยังคงมีปริมาณน้ำระเหยสะสมทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม และคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชและพื้นที่การเกษตรด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน และในช่วง วันที่ 26 – 28 ธ.คจะมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง สำหรับสภาพอากาศยังคงหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง อย่างเพียงพอ และเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ส่วนภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผักต่างๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74