พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday January 26, 2018 15:44 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 26 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26-28 ม.ค. 61 บริเวณประเทศไทยตอนบน รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ กับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 29 ม.ค. -1 ก.พ. 61 ประเทศไทยตอนบนจะมีสภาพอากาศแปรปรวน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นจะมีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 6-8 องศาเซลเซียส โดยจะเริ่มทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 26-30 ม.ค. 61 ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลผลิตการเกษตรเนื่องจากฝนที่ตกไว้ด้วย ส่วนในวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ. 61 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 26-30 ม.ค. 61 อากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 12-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด3-15 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค และมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง4-6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-19 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีสภาอากาศแปรปรวน โดยมีอากาศหนาวเย็นกับมีฝนตก เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ เพื่อป้องกันร่างกายปรับตัวไม่ทัน จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งเพราะอาจทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ในช่วงวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ. 61 อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับสภาพอากาศเย็นและชื้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง ในพืชไร่และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 26-29 ม.ค. 61 อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 30 ม.ค. -1 ก.พ. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 6-8 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณ ห ภูมิต่ำ สุด 6-12 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีสภาอากาศแปรปรวน โดยมีฝนในระยะแรกต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 6-8 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ในช่วงวันที่ 29 ม.ค. – 1 ก.พ. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรให้ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ และควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน ป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เล็ก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารที่ให้น้อยลง เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย และควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนและปรับอุณหภูมิน้ำ
  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นและเสียหายได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 26-30 ม.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และมีอากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ตลอดช่วง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นและเสียหายได้
  • ในช่วงวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ. 61 อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรให้ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ และควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน ป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เล็ก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 26-30 ม.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และมีอากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ รวมทั้งหลีกเลี่ยง การตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ในช่วงวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ. 61 อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส อากาศจะหนาวเย็นลงอาจ ทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำจึงควรลดปริมาณอาหารที่ให้ตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสียและควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนและปรับอุณหภูมิน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 26-30 ม.ค. 61 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ. 61 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 26-30ม.ค. 61 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตรส่วนในวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ. 61 ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงและมีฝนตกหนักทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนทางตอนบนของภาค แม้จะมีฝนแต่ปริมาณมีน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูดที่จะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ต้นพืชทรุดโทรมและผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก และควรดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสม
  • ในช่วงวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ. 61 บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 26 ม.ค. – 1 ก.พ. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ในช่วงวันที่ 1-25 มกราคม 2561) บริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกมีปริมาณฝนสะสม 50-150 มม. สำหรับภาคใต้ตอนล่างส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม. โดยเกิดขึ้นที่บริเวณภาคตะวันออกตอนล่างเป็นส่วนใหญ่ สำหรับภาคใต้ตอนล่างส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-200 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบโดยมีค่า (-20)-(-30) มม. สำหรับภาคใต้ตอนล่างส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก 1-150 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสมสูงสุด70-150 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 24-28 ม.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นโดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนช่วงวันที่ 29 ม.ค. – 1 ก.พ. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 6-8 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังการเกิดน้ำท่วมขังในบริเวณพื้นที่เพราะปลูก และการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ