พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 16 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 21/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ แต่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. บริเวณประเทศไทยจะมีแนวโน้มเกิดฝนฟ้าคะนองขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนคลื่นบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีโอกาสสูงในการเกิดฝนฟ้าคะนองในวันที่ 22-23 ก.พ.
อนึ่ง ในวันที่ 22-23 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรกหลังจากนั้นจะมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียสกับมีลมแรงโดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป
คำเตือน ในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. ขอให้ปเกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 16-20 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูหนาว อุณหภูมิในตอนกลางวันและกลางคืนจะแตกต่างกันมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- สภาพอากาศที่เย็นและชื้น เนื่องจากหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า อาจทำให้เกิดการระบาดของโรคพืชที่เกิจากเชื้อราเช่น โรคใบจุดสีม่วงในพืชตระกูลหอมกระเทียม โรคใบไหม้ในข้าวโพด และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น ซึ่งทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้น และเสียหายได้
- นอกจากนี้เกษตรกรควรเพิ่มความระวังการเกิดอุบัติเหตุเมื่อสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูหนาว อุณหภูมิในตอนกลางวันและกลางคืนจะแตกต่างกันมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยง ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- ในช่วงวันที่ 19 – 22 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง แต่มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช หรือบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดินและอุณหภูมิดิน นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้น และเสียหายได้
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 16-19 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับอากาศเย็นและชื้น กับมีหมอกในตอนเช้าเหมาะกับการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ในข้าวนาปรัง ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาหากพบควรรีบควบคุมก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง
- ในช่วงวันที่ 19 – 22 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง แต่มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้น และเสียหายได้
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อนชาวสวนควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันผลผลิตร่วงหล่นรวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- ในช่วงวันที่ 18 – 22 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง เพิ่มขึ้นเกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้น และเสียหายได้
- ส่วนบริเวณที่มีฝนหนัก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่งลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์70-80 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 16-19 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่มีปริมาณน้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักต่างๆด้วย ซึ่งจะทำ ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- สำหรับฝนที่เพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 18 – 22 ก.พ. เกษตรควรกักเก็บน้ำเพื่อใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนแล้ง
ปริมาณฝนสะสมเดือนกุมภาพันธ์ (ในช่วงวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2561) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เว้นแต่ทางตอนล่างของบริเวณดังกล่าวมีปริมาณฝนสะสม 25-50 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า100 มม. โดยภาคใต้ตอนบนปริมาณฝนสะสมสูงสุด 25-100 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม. เว้นแต่ทางตอนกลางของภาคใต้ มีปริมาณฝนสะสม 5-10 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ ส่วนภาคเหนือตอนบนด้านตะวันออกมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมน้อยกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-20)-(-40) มม. โดยภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม(-30)-(-40) มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยไม่มีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมาก และยังคงมีอากาศหนาวเย็นบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาวบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังและอุณหภูมิจะสูงขึ้นในตอนกลางวัน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อไม่ให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับภาคใต้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆด้วย ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74