พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 21 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 23/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-24 ก.พ. บริเวณประเทศไทยจะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรงโดยมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ จะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 21-22 ก.พ. 2561 ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกจะได้รับผลกระทบในวันที่ 22-23 ก.พ. 2561 สำหรับภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีฝนตกหนักบางแห่ง และภาคใต้จะได้รับผลกระทบในวันที่ 23-24 ก.พ. 2561ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ2 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 25-27 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
คำเตือน ในช่วงวันที่ 21-24 ก.พ. ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ในขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และควรระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งกับลมกระโชกแรงโดยมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16 -22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ก.พ. อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 20 -23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้นอกจากนี้บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร
- ระยะนี้จะมีสภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- สำหรับในบางช่วงอาจมีหมอกและน้ำค้าง อาจทำให้เกิดการระบาดของโรคพืชที่เกิจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุดสีม่วงในพืชตระกูลหอมกระเทียม โรคใบไหม้ในข้าวโพด และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบ ให้ควบคุมก่อนระบาดไปยังแปลงอื่น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 21-24 ก.พ. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งกับลมกระโชกแรง โดยมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ก.พ. จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 21-24 ก.พ. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตรผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้นอกจากนี้บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร
- ระยะนี้จะมีสภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
- ในช่วงวันที่ 21-24 ก.พ. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตรผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้นอกจากนี้บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร
- ระยะนี้จะมีสภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้ นอกจากนี้บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร
- สำหรับอากาศเย็นและชื้น กับมีหมอกในตอนเช้าเหมาะกับการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ในข้าวนาปรัง ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาหากพบควรรีบควบคุมก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งและลมกระโชกแรง โดยมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียสอุณ ห ภูมิสูง สุด 31 -33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ก.พ. จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้ นอกจากนี้บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร
- สำหรับไม้ผลชาวสวนควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นต้นของไม้ผลที่รับน้ำหนักมากให้แข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหาย เนื่องจากลมกระโชกแรง
- นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- แม้ปริมาณฝนจะเริ่มลดลง แต่ปริมาณน้ำในดินยังคงมีอยู่มาก และในช่วงวันที่ 22 – 24 ก.พ. จะมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้น ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และอาจตายได้
- นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรควรกักเก็บน้ำเพื่อใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนแล้ง
ปริมาณฝนสะสมเดือนกุมภาพันธ์ (ในช่วงวันที่ 1-20 กุมภาพันธ์ 2561) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.โดยฝนส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ตอนบน
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. โดยฝนส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. โดยฝนส่วนใหญ่จะอยู่ทางตอนกลางของภาค
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม. โดยภาคเหนือตอนล่างและภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-20)-(-40) มม.เป็นส่วนใหญ่ โดยภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม ต่ำที่สุด สำหรับบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-20 มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำที่เป็นลบเป็นส่วนใหญ่ และใน 7 วันข้างหน้าแม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และเจริญเติบโตทางผลอย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้ สำหรับในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางด้านการเกษตร และเนื่องจากระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนระยะนี้และระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74