พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday February 26, 2018 15:22 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 25/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับบริเวณภาคใต้มีฝนบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณภูมิสูงขึ้น และมีอากาศร้อนในตอนกลางวันโดยในช่วงวันที่ 3-4 มี.ค. บริเวณภาคตะวันเฉียงเหนือและภาคตะวันออก จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงฤดูร้อน

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า กับอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 15 -24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 มี.ค. มีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้ากับอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 17-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่เกษตรกรควรป้องกันและระมัดระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

-ในช่วงนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงฤดูร้อน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 26 ก.พ. - 2 มี.ค. มีอุณหภูมิสูงขึ้นกับอากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูร้อนปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 มี.ค. จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีอากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนเป็นฤดูร้อน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และใช้น้ำอย่างประหยัด และควรวางแผนการใช้น้ำ ที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 26 ก.พ. - 2 มี.ค. มีเมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 3-4 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนเป็นฤดูร้อน ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนไม่สม่ำเสมอตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วง เกษตรกรควรป้องกันและระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ระยะต่อไปจะเป็นฤดูร้อนปริมาณฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักใว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 26 ก.พ. - 4 มี.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนกุมภาพันธ์ (ในช่วงวันที่ 1-25 กุมภาพันธ์ 2561) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 25 มม.เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ตอนกลางที่มีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่า 25 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ตอนกลาง ที่มีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่า 25 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางด้านตะวันตก และภาคภาคใต้ตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-10)-(-30) มม. เว้นแต่บริเวณตอนกลางของประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวกโดยมีค่า 1-20 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวกันอยู่ตามบริเวณต่างๆทางตอนบนของประเทศและมีอุณหภูมิสูงในตอนกลางวัน ส่วนในช่วง 7 วันข้างหน้า ยังคงมีฝนตกแต่ปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางการด้านเกษตรในช่วงแล้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ