พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 2 - 8 เมษายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday April 2, 2018 15:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 2-8 เมษายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 40/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2 – 4 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 5 – 8 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก รวมทั้งฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสมที่จะเกิดขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 9 เม.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และคลื่นลมจะมีกำลังแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 5 - 8 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงฟ้าผ่า ลูกเห็บตก ฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสมที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรควรระมัดระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 9 เม.ย. บริเวณภาคใต้ลมจะมีกำลังแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 2-5 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ60-70 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนัก ลมกระโชกแรงฟ้าผ่า และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-22องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 6-8 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง
  • ในช่วงนี้จะมีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 2-4 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และมีลูกเห็บตกบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด26-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ในช่วงที่มีพายุฤดูร้อนและลมกระโชกแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้มั่นคงแข็งแรง
  • ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำ และรักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 2-5 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนัก ลมกระโชกแรงฟ้าผ่า และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์65-75%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 6-8 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตก เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำในระดับบนและน้ำในระดับที่ลึกลงไปรวมเป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 2-4 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่น 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้รวมทั้งควรตรวจสอบไม้ค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
  • ระยะนี้จะมีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 2-5 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกความเร็ว 15-30กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้แม้จะมีฝน แต่ในบางพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนบนและตอนล่างของภาค มีปริมาณและการกระจายของฝนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกซึ่งจะทำให้การออกดอกของพืชดีขึ้น แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต การผลิดอกออกผลลดลง
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตก เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำในระดับบนและน้ำในระดับที่ลึกลงไปรวมเป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 2-8 เม.ย. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนเมษายน (ในช่วงวันที่ 1 เมษายน) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีรายงานฝนตกเป็นบางแห่งมีปริมาณฝน สะสมสูงสุด 1- 20 มม. ส่วนภาคใต้มีฝนตกส่วนมากบริเวณตอนกลางของภาค มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 1-50 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 70 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดเลย จันทบุรี ตราด และสุราษฎร์ธานี มีปริมาณฝนสะสม 80-150 มม. ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-40) มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดน่าน ลำปาง ตาก เลย ภาคกลางตอนกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนกลางมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-100 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นในตอนบนของประเทศไทยเกษตรกรจึงควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับภาคใต้ แม้จะมีฝน แต่ทางตอนบนและตอนล่างของภาคมีปริมาณและการกระจายของฝนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสมรวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ