พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 16 - 22 เมษายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday April 16, 2018 13:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 16-22 เมษายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 46/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน กับมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศร้อน โดยฝนฟ้าคะนองลดลง สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้นในช่วงวันที่ 17-19 เม.ย. ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรรควรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง รวมทั้งควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะขณะฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และในช่วงวันที่ 17-19 เม.ย. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง
  • เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตร ไว้กลางแจ้ง โดยเฉพาะในช่วง 16-18 เม.ย. เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายได้
  • ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 เม.ย.จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ในตอนกลางวันจนทำให้มีอากาศร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนในระยะนี้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยง การอยู่กลางแจ้ง และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฟ้าคะนอง
  • สำหรับในช่วงที่มีฝนฟ้าตะนองเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
  • เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และบริเวณ โคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในวันที่ 16-18 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตก บนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 เม.ย. มีอากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยตรวจสอบสภาพวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของ ไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรงเพื่อป้องกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
  • ระยะนี้ฝนตกและหยุดสลับกันสภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อย คุณภาพได้

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในวันที่ 16 และในช่วงวันที่20-22 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ฝั่งตะวันตก ในวันที่ 16 และในช่วงวันที่20-22 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับฝนที่ตกและหยุดสลับกันในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เพราะจะทำให้ดอกสียหาย ผลผลิตลดลงได้
  • เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน โดยคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆครั้งและควรให้น้ำพืชในช่วงเย็น เพื่อลดอัตราการสูญเสียน้ำโดยการระเหย
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17-19 เม.ย. บริเวณอ่าวไทยและทะเล อันดามันจะมีคลื่นลมแรง โดยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 16-22 มี.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนเมษายน (ในช่วงวันที่ 1-15 เมษายน)บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดพะเยา ลพบุรี สมุทรปราการ และสระแก้ว ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 25-100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บางพื้นที่บริเวณตะวันออกเฉียงภาคเหนือ และภาคใต้ตอนล่าง ที่มีปริมาณฝนสะสมต่ำมากกว่า 50 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-45 มม. ส่วนภาคใต้มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-40 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบคือ (-1)-(-60) มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดหนองคายและนครพนม ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก 1-20 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนอง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนในระยะครึ่งหลังจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน เนื่องจากในระยะนี้ฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้จะมีฝนน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่าเหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ในช่วงแล้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ