พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 25 เมษายน – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 50/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25-28 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงกับมีฟ้าผ่า และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. -1 พ.ค. ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 25-28 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย รวมทั้งเกษตรกรควรระมัดระวัง และป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 28 เม.ย. -1 พ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. -1 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 25-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
- เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. -1 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 25-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฟ้าคะนอง
- แม้จะมีฝนตกในระยะนี้แต่ปริมาณและการกระจายยังไม่สม่ำเสมอเพียงพอต่อการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก เกษตรกรควรเตรียมแปลงปลูกให้พร้อมจนกว่าจะมีฝนตกต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ และปริมาณฝนมากเพียงพอ
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. -1 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 25-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว รวมทั้งหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
- ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่29 เม.ย. -1 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 25-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะทุเรียน และมะม่วง ซึ่งจะทำให้ผลแตกและร่วงหล่นได้ และควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
- ระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อย เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชตามความจำเป็นและ คลุมผิวดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน รวมทั้งใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไป
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. -1 พ.ค. ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่26-27 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28 เม.ย. -1 พ.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. -1 พ.ค. ในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28 เม.ย. -1 พ.ค. ลมตะวันออกความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ภาคใต้ตอนบนยังคงมีปริมาณฝนน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง โดยให้น้ำแก่พืชอย่างมีสิทธิภาพ เช่นให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือให้น้ำระบบน้ำหยด เป็นต้น รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
- ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ จะทำให้สภาพอากาศมีความชื้น ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผลอ่อน และเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันผลชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้ผลผลิตเสียหายได้
- ในช่วงวันที่ 25-28 เม.ย. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนเมษายน (ในช่วงวันที่ 1-24 เมษายน 2561) บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-150 มม.เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดเชียงราย อุดรธานี ลพบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราดและประจวบคีรีขันธ์ ที่มีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 150 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 0-50 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดลำปาง ตราด และสตูล ที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-45 มม.
สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบคือ (-1)-(-50) มม. เว้นแต่บริเวณที่มีฝนตกในช่วงที่ผ่านมาจะมีค่าสมดุลน้ำสมเป็นบวก คือ 1-40 มม. ได้แก่บริเวณจังหวัดน่าน ลำปาง ตราด และสตูล
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีรายงานอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน และมีพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยจะมีพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงเป็นบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะต้นช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว และควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีฝนน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่าเหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ในช่วงแล้ง ส่วนฝั่งตะวันตกจะมีฝนเพิ่มขี้นทำให้อากาศชื้น ชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งเพื่อลดความชื้นในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74