พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 9 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday May 9, 2018 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 9 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 56/61

การคาดหมายลักษณะ ในช่วงวันที่ 9 – 13 พ.ค. ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 9 - 13 พ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10 - 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในวันที่ 15 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70 – 80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรได้ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยการดูแลระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม และจัดทำแผงกำบังฝนสาดให้กับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์รวมทั้งดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยนอกจากนี้ควรให้วัคซีนแก่สัตว์เพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในฤดูฝน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 9 - 13 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่14 -15 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70 – 80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ฝนที่ตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักเกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบการระบาดของโรคควรรีบควบคุม ก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดกับสัตว์ในช่วงฤดูฝน รวมทั้งดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมและจัดทำแผงกำบังฝนสาดให้กับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในฤดูฝนนี้ ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูกพืช แต่ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไปเพราะจะทำให้การระบายอากาศไม่ดี เกิดความชื้นสะสมในแปลงปลูกนำมาซึ่งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10 - 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในวันที่ 15 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด24 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 -25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70 – 80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรได้ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยการจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • สำหรับสภาพอากาศและดินที่มีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักเกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบการระบาดของโรคควรรีบควบคุม ก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 9 - 13 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่14 - 15 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 – 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75 – 85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ฝนที่ตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจส่งผลกระทบต่อไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณแปลงปลูก โดยรีบระบายน้ำออกจากแปลงให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับชาวสวนไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9 - 13 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 – 80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 9 - 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75– 85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
  • ในช่วงวันที่ 9-13 พ.ค. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 9-15 พฤษภาคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-8 พฤษภาคม) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 5-100 มม. เป็นส่วนใหญ่เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา ประจวบคีรีขันธ์ และนครศรีธรรมราช ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันมี่ 2 – 8 พ.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 1-100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-40 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวกคือ 1-150 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางและภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำสมสมเป็นลบ (-1) - (-40)มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง จากนั้นประเทศไทยจะมีฝนลดลงเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝน ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอดีแล้ว จึงค่อยลงมือปลูก สำหรับฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เกษตรกรควรชุบท่อนพันพันธุ์และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย สารป้องกันเชื่อรา และจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ