พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 1 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday August 1, 2018 15:33 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1-7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 92/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1-4 ส.ค. ประเทศไทยจะมีฝนลดลง เว้นแต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีฝนต่อเนื่องและมีฝนมากกว่าภาคอื่นๆ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ส.ค.ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 5-7 ส.ค. ขอให้ประชาชนระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำเอ่อล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่มไว้ด้วย สำหรับชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่บริเวณเชิงเขา หรือที่ราบลุ่มเชิงเขา เกษตรกรควรระวังและป้องกันสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเนื่องจากฝนที่ตกสะสม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตแต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ฝนตกชุก ซึ่งดินและอากาศมีความชื้นสูง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-4 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ โดยดูแลคูคลองอย่าให้ตื้นเขิน ให้น้ำไหลได้สะดวก รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นน้ำและอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำ ฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-4 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • สวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกและโคนต้นพืชเป็นเวลานานเพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1-4 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตรส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตรตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 5-7 ส.ค. บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะใต้ฝั่งตะวันตก ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพูในยางพารา เป็นต้น โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นที่สะสมภายในสวน
  • ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกและหยุดสลับกันสภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อน ของพืชทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ในช่วงวันที่ 5-7 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 1-7 ส.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 50-800 มม. โดยบริเวณตอนกลางของประเทศ และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง เป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าบริเวณอื่น

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ในช่วงวันที่ 25-31 ก.ค. 2561) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 5-100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ด้านตะวันตกของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่มีปริมาณฝนสะสม 100-400 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-35 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-300 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกด้านตะวันตก และภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-30)

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลคูคลอง และทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขินหรือติดขัด น้ำสามารถไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก และในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม เกษตรกรควร ระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคฉี่หนู โรคตาแดง น้ำกัดเท้า และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ