พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 6 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 94/61
การคาดหมายลักษณะ ในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ส.ค. ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และคลื่นลมยังคงมีกำลังแรง
คำเตือน ระยะนี้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและดินโคลนถล่มไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่10-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต หรือเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกแสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสมภายในบริเวณสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูง
- สำหรับพื้นที่ซึ่งมีน้ำขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่10-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคตาแดง โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและน้ำกัดเท้า เป็นต้น
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่นโคและกระบือ เป็นต้นอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกพืชเป็นเวลานานทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นน้ำและอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูงดูแลหลังคาอย่าให้รั่วซึม แผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และจัดเตรียมพื้นที่อพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง หากเกิดสภาวะน้ำหลาก
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่10-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสมภายในพื้นที่เพาะปลูก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน
- ระยะนี้ บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก กับจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- เนื่องจากในระยะนี้จะมีลมแรง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง
-ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศ มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น
- ส่วนทางฝั่งตะวันออกจะมีฝนในช่วงบ่ายและค่ำ ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต
- อนึ่ง ระยะนี้จะมีคลื่นลมแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกัน ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (ช่วงวันที่ 1-5 ส.ค. ) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ในช่วงวันที่ 30 ก.ค. – 5 ส.ค. ) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม.เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศไทยที่มีปริมาณฝนสะสม100-200 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 20-35 มม. โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่น
สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-150 มม. เว้นแต่บริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและด้านตะวันตก ภาคกลาง และทางตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-40)
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มไว้ด้วย โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูก นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในข้าวนาปี พืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74