พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 13-19 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 97/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. 61 ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 ส.ค. 61 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตรตลอดช่วง
คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่มไว้ด้วยสำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอัดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่บริเวณเชิงเขา หรือที่ราบลุ่มเชิงเขา เกษตรกรควรระวังและป้องกันสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเนื่องจากฝนที่ตกสะสม รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
- สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่องบริเวณภาคเหนือตอนล่างจะเป็นผลดีต่อข้าวนาปีที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งจะพบการระบาดมากในนาหว่านที่มีข้าวขึ้นหนาแน่นและอับลม ถ้าโรคระบาดรุนแรงจะทำให้ต้นข้าวแห้งตาย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่15-19 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงเลี้ยงสัตว์น้ำควรสำรวจขอบบ่อให้ดูมั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันน้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อซึ่งจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากมีฝนตกหนัก เพื่อปรับสภาพน้ำและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้สภาพอากาศชื้น เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
- สำหรับสภาพอากาศร้อนชื้นเกษตรกรควรระวัง การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่15-19 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับฝนที่เพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งพื้นที่การเกษตรซึ่งอยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ส.ค. 61มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด28-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวโดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศ มีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกกาแฟ ยางพารา และไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรค เพื่อไม่ให้ระบาดเป็นบริเวณกว้าง
- ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และดูแลคอกสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายรวมทั้งหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
- ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74