พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 22 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 101/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 23-28 ส.ค. 61 บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 23-28 ส.ค. 61 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนักเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่ม สำหรับบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 23-28 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 – 85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกไม้ดอก ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครานิมในเบญจมาศ และโรคดอกเน่าในดาวเรือง และโรคใบจุดสีดำในกุหลาบเป็นต้น โดยดูแลแปลงปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกแสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียกองอยู่ในบริเวณสวนเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน แต่ควรนำไปกำจัดโดยเผาหรือฝังให้ลึก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 23-28 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตก บางพื้นที่อาจมีน้ำท่วม ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำโดยใช้ตาข่ายดักทางน้ำที่ไหลเข้านา แล้วจับหอยไปทำลาย เพื่อไม่ให้หอยดังกล่าวเข้ามาแพร่พันธุ์และกัดกินต้นข้าวในแปลงนาต่อไป
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือซึ่งอาจป่วยเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 23-28 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค.61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงฤดูฝนแมลงและศัตรูสัตว์ เช่น ยุง เหลือบ ริ้น ไรต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกร ไม่ควรปล่อยให้สัตว์ศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยง เพราะจะทำให้สัตว์ชะงักการเจริญเติบโต และศัตรูสัตว์บางชนิดยังเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่การเกษตรให้มีการระบายน้ำที่ดี เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรเป็นเวลานานทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นน้ำและอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 23-28 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชและบริเวณโคนต้นไม้ผลเป็นเวลานาน เกิน 7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำ ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น โดยดูแลสภาพสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก ป้องกันโรคดังกล่าว
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค.61 ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค.61 ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่น สูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
- ฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงชาวสวนยางพารา และกาแฟ ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น
- สำหรับทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนในช่วงบ่ายและค่ำ ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตได้
- ในช่วงวันที่ 23-28 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (ในช่วงวันที่ 1-21 ส.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 300 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณตอนบนและตอนล่างของภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสม 300-800 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 15-21 ส.ค. ) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 10-150 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบนด้านตะวันออกที่มีปริมาณฝนสะสม 150-300 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.
สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1–150 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือนตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก และภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-30) มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนกับฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่ม รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เป็นเวลานาน และควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74