พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 24 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 102/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 24-28 ส.ค. 61 บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 ส.ค. 61 ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตลอดช่วง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 24-28 ส.ค. 61 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมค่อนข้างแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 24-28 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 ส.ค.61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 – 85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ความชื้นในดินและในอากาศสูง เกษตรกรที่ปลูกกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคราสนิม ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรควบคุมสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงให้เหมาะสมกับสัตว์น้ำที่เลี้ยง และไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ไหลบนดินลงไปในบ่อเลี้ยง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทันและอาจตายได้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 24-28 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 ส.ค.61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ความชื้นในอากาศสูงชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในข้าวนาปี โดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งโรคนี้สามารถระบาดในข้าวนาปีได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตหากมีความเหมาะสมของสภาพอากาศ
- สำหรับในบางพื้นที่อาจมีน้ำ ท่วม เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป้องกันโรคเล็ปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูฝน เกษตรกรควรหมั่นสังเกตบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เพราะอาจมีสัตว์มีพิษเช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น เข้ามาอาศัยหรือหลบฝนในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์และอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงหรือทำให้สัตว์เลี้ยงตื่นได้ ดังนั้นหากพบสัตว์มีพิษดังกล่าวควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่ปลูกพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักต่างๆ ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก รวมทั้งจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชและบริเวณโคนต้นพืชเพราะจะทำให้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้โดยเฉพาะโรครากเน่าในพริกไทย ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายผลผลิตลดลงได้
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ไหลบนดินลงไปในบ่อเลี้ยง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทันและอาจตายได้
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. 61 มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์70-80 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 ส.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกหนัก โดยเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
- เกษตรตกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่นเงาะ ทุเรียน และลองกอง เป็นต้น เกษตรกรไม่ควรกองสุม เปลือกและผลที่ร่วงหล่นเน่าเสีย ในบริเวณสวนเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งอาจระบาดจากกองวัสดุดังกล่าวมาสู่ต้นพืชได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ดินและอากาศมีความชื้นสูง
- ระยะนี้ บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (ในช่วงวันที่ 1-23 ส.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 300 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณตอนบนและตอนล่างของภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสม 300-800 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 17-23 ส.ค. ) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 25-200 มม. เว้นแต่บางพื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสม 200-300 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.
สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1–150 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือนตอนล่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-20) มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยจะมีฝนกับฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่ม รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังเป็นเวลานาน และควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74