พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 3-9 กันยายน พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 106/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4 – 6 ก.ย. 61 บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 7 - 9 ก.ย. 61 บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในทุกภาคของประเทศ
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 4 – 6 ก.ย. 61 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนาม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 9 ก.ย. 61 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ทำให้ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 3 – 9 ก.ย. 61 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่ม ไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 3-4 ก.ย. 61 และ 7 – 9 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5 – 6 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
- ส่วนนาข้าวในภาคเหนือตอนล่างที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตและออกรวง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่นหนอนกอข้าว ซึ่งจะกัดกินต้นข้าวทำให้ผลผลิตลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 4 – 6 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 9 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 7-9 ก.ย. 61 จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก
- สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้สภาพอากาศมีความชื้น สูงเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 3 – 6 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 9 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 7-9 ก.ย. 61 จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มเกษตรกรควรจัดเตรียมระบบระบายน้ำในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูก รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นน้ำและอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
- สำหรับสภาพอากาศร้อนชื้นเกษตรกรควรระวัง การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 3 – 6 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 9 ก.ย.61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้ต้นพืชตายได้
- ระยะนี้จะมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อนในบางวัน ซึ่งสภาพอากาศ เหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผล เช่น หนอนเจาะลำต้นทุเรียน หนอนชอนใบในมังคุด และหนอนกินใต้ผิวเปลือกในลองกองเป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 – 4 ก.ย. 61 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5 – 9 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75-85 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมาโดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่5-9 ก.ย. 61 ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล
- พื้นที่ซึ่งมีฝนตกและหยุดสลับกัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่นใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ปริมาณฝนสะสมเดือนกันยายน (ในช่วงวันที่ 1-2 ก.ย.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนบนด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 27 ส.ค. – 2 ก.ย. ) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีปริมาณฝนสะสม 150-200 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม. เว้นแต่บริเวณภาคใต้ตอนล่างที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-40 มม.
สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1–100 มม. เว้นแต่บริเวณที่มีฝนตกชุกในช่วงที่ผ่าน ได้แก่บริเวณ ภาคเหนือตอนบนด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และบริเวณตอนกลางของภาคตะวันออก ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-30) มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-40)มม. เว้นแต่บริเวณตอนบนและตอนล่างของภาค ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-70 มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่ม ไว้ด้วยนอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74