พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 1 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday October 1, 2018 15:44 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 118/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. 61 ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 61 ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. 61 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 61 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงและมีอากาศเย็นในตอนเช้าในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่

คำเตือน ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. 61 เกษตรกรบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 61 บริเวณภาคใต้ จะมีฝนที่ตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศเปลี่ยนแปลงเกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 61 ทางตอนบนของภาค: อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียสและมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ20-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด29-31 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนอากาศจะเปลี่ยนแปลงเกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง
  • ในช่วงฤดูฝนวัชพืชต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหารจากต้นพืชที่ปลูก โดยเฉพาะไม้ผลที่ออกดอกในช่วงฤดูหนาว ควรกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นพืชให้โล่งเตียน เพื่อให้ดินแห้ง กระตุ้นให้พืชแตกตาดอกได้ดีขึ้น และป้องกันโรคพืชจากเชื้อรา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 61 ทางตอนบนของภาค: อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส และมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนที่ลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนใน พืชไร่ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับบางพื้นที่ยังคงมีฝนตก พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะสัตว์เลี้ยงอาจปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ฝนที่ตกในระยะนี้ จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ความชื้นในดินและในอากาศยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้
  • เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูฝน ปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรเตรียมกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 61มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. 61มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาคลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด26-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนเช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น
  • ส่วนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนในช่วงบ่ายค่ำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 1–7 ต.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนกันยายน ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 400 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม 400-800 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 24-30 ก.ย.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออก ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-40) มม. สำหรับบริเวณที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-100 มม. ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนกลาง

คำแนะนำ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ และหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลงในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค.61 เกษตรกรควรกักเก็บน้ำใว้ใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อยเนื่องจากในระยะต่อไปฝนจะลดลง นอกจากนี้เกษตรกรควระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้จะยังคงมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนักนอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ