พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 8 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday October 8, 2018 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 8 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 121/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าส่วนภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่เกิดขึ้นได้ สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ต.ค. ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยจะมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ส่งผลให้มีลมตะวันออกพัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่เกิดขึ้นได้ ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจะแผ่เสริมเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก โดยจะมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง ในขณะที่ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 10 -14 ต.ค. บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสกับมีลมแรงเกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-25องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียสส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ20-30 ของพื้นที่ โดยจะมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีฝนลดลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยนอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ในบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำ เสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-24องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียสส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ โดยจะมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 9-14 ต.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมแรง และมีอากาศเย็นในตอนเช้าโดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสเกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ในช่วงที่มีฝนตกเกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ในช่วงที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 10-12 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ทางตอนบนของภาคที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ เช่นโรคราสนิมกับโรคผลเน่าในกาแฟ และโรคใบจุดสาหร่ายกับโรคราสีชมพูในเงาะ เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นสะสมและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 8-14 ตุลาคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (ช่วงวันที่ 1-7 ต.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคใต้ทางตอนบนและตอนล่างของภาค ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-200 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 1-7 ต.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 0-100 มม. เว้นแต่บางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคใต้ทางตอนบนและตอนล่างของภาค ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม. ส่วนภาคใต้มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-150 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-40) มม.

คำแนะนำ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ และหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำใว้ใช้ด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้เกษตรกรควระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนอ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้จะยังคงมีฝนตกชุกกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก และควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ