พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 15 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันจันร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 124/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 15-18 ต.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 15-18 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนได้เคลื่อนไปปกคลุมทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่ลมตะวันออกยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้
คำเตือน ในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. 61 บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ จะมีฝนตกหนักเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- พื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
- เนื่องจากระยะต่อไปจะเข้าสู่ฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเตรียมจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน และจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เอาไว้ให้พร้อม เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กจะมีความต้านทานต่ำกว่าสัตว์ตัวเต็มวัย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 15-18 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับปริมาณฝนที่ลดลงในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้
- ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงปลายฤดูฝน เกษตรกรควรคลุกเมล็ดพันหรือชุบท่อนพันด้วยสารป้องกันเชื้อราเนื่องจากบางพื้นที่ดินยังคงมีความชื้นอยู่มากประกอบกับบางช่วงจะมีหมอกในตอนเช้า ซึ่งอาจทำให้เชื้อราบางชนิดระบาดได้
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 15-18 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีฝนลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงัการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรีบแยกออกจากกลุ่ม เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 15-18 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกชุก วัชพืชต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหารจากพืชที่ปลูก และเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืชบางชนิดได้
- ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตแต่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักเอาไว้ด้วย
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 15-16 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 17-21ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 15-16 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกโดยเฉพาะทางตอนบนของภาคจะมีฝนกับฝนเพิ่มขึ้นกับมีตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝนของทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรดูแลสภาพสวนและพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก คูคลองระบายน้ำไม่ตื้นเขินน้ำไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย เมื่อมีฝนตกหนัก
- ส่วนทางฝั่งตะวันตกปริมาณและการกระจายของฝนจะค่อยๆลดลงเป็นลำดับ แต่ความชื้นในดินและในอากาศยังคงมีอยู่ ดังนั้นเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวนและพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิคลดลง และด้อยคุณภาพได้
ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (ในช่วงวันที่ 1-14 ต.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม.เว้นแต่ภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-300 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนกลางและภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-300 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคเหนือด้านตะวันตกและภาคตะวันออกตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม10-100 มม. โดยภาคใต้ตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 20-35 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-40) มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-30)-(-40) มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-70 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนกลางมีค่าสมดุลน้ำสะสม 40-70 มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ สำหรับในช่วง7 วันข้างหน้า บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ นอกจากนี้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74