พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 9-15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 135/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 9-15 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักบางแห่งโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมภาคใต้ ได้เคลื่อนปกคลุมทะเลอันดามันทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นในขณะที่ลมตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่างทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นในระยะนี้ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียนามตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้
คำเตือน ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในวันที่ 9-10 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 5-13 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่11-15 พ.ย. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
- เกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่ซึ่งอยู่ในระยะพักตัวเตรียมออกดอกควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น ไรสี่ขาและหนอนเจาะกิ่ง เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในวันที่ 9-10 พ.ย. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคส่วนในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างเกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมนอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
- เกษตรกรที่ปลูกฝ้ายซึ่งอยู่ในระยะเก็บเกี่ยวควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น แมลงหวี่ขาว เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่11-15 พ.ย.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมนอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
- เกษตรกรที่ปลูกส้มโอซึ่งอยู่ในระยะแตกใบอ่อน (ตัดแต่งกิ่ง)ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนชอนใบ แมลงค่อมทอง และโรคแคงเกอร์ เป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
- เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนซึ่งอยู่ในระยะพักตัวเตรียมออกดอกควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะ ลำต้นทุเรียนและไรแดง เป็นต้น
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า3 เมตร ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่9-10 พ.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรที่ปลูกมังคุดซึ่งอยู่ในระยะแตกใบอ่อนและเจริญเติบโตทางใบควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรคใบจุด โรคใบไหม้ เพลี้ยไฟและหนอนชอนใบ เป็นต้น
- ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง
ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน (ช่วงวันที่ 1-8 พ.ย.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 10-300 มม. โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 2-8 พ.ย.) ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 10-300 มม. โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.
สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-30) มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-300 มม. เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-10) มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนึกมากบางแห่ง สำหรับในช่วง7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และจัดระบบระบายน้ำบริเวณแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74