พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 14-20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 137/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 14-17 พ.ย. ภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑลมีฝนน้อย สำหรับภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศา กับมีลมแรงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 14-17 พ.ย. มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียตอนล่าง และมีแนวโน้มจะเคลื่อนไปปกคลุมหัวเกาะสุมาตราในระยะต่อไป ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ส่งผลให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนเข้ามาใกล้ปลายแหลมญวน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่งสำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 14-20 พ.ย. ขอให้ชาวเกษตรกรบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากฝนที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย สำหรับในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไประวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนักและฝนตกสะสมไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมาระวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนักและฝนตกสะสมไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 14-18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศา สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 14 – 18 พ.ย. จะมีอากาศเย็น ต่อจากนั้นในช่วงวันที่ 19 – 20 พ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองและอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 – 2 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง และได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- ระยะนี้อากาศเย็นและชื้น ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะบริเวณที่มีการปลูกพืชใกล้ชิดกันมากหรือปลูกพืชในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทน้อย จะทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อพบการระบาดของโรคพืช ควรรีบควบคุมก่อนระบาดไปยังต้นอื่นๆ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 14-17 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศากับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 14 – 17 พ.ย. จะมีอากาศเย็น ต่อจากนั้นในช่วงวันที่ 18 – 20 พ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองและอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 – 2 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง และได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำ ที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 14-18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ปริมาณฝนเริ่มลดลงกับมีอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้าเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
- เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 14-17 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่ กับมีลมแรง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากเกษตรกรต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อย เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อยลงในช่วงฤดูหนาว
- เนื่องจากปริมาณฝนที่ลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 14-18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 14-18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังโคนต้นพืชโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคราสีชมพูในลองกอง เป็นต้น
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน (ช่วงวันที่ 1-13 พ.ย.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม.โดยเฉพาะทางตอนบนและตอนล่างของภาคมีปริมาณฝนสะสม 200-400 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 7-13 พ.ย.) ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 25-300 มม. โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคมีปริมาณฝนสะสม 300-400 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-25 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-30 มม.
สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-40) มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบนและบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-40 มม. สำหรับภาคใต้มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 10–400 มม. โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคมีค่าสมดุลน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม เนื่องจากค่าสมดุลน้ำสะสมบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่มีค่าเป็นลบ สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวและจัดทำระบบระบายน้ำบริเวณแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักชนิดต่างๆ ที่จะทำให้ต้นพืชเสียหาย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74