พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 21 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday November 21, 2018 13:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 140/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งสำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสำหรับภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในวันที่ 21-22 พ.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ โดยอุณหภูมิจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีอากาศหนาวเย็นลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางอนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางในช่วงวันที่ 21-23 พ.ย. คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม ในช่วงวันที่ 24-27 พ.ย. และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเป็นพายุดีเปรสชั่น หย่อมความกดอากาศต่ำ ตามลำดับ

คำเตือน ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. ขอให้ชาวเกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบน ควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากฝนที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ ระวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนักและฝนตกสะสมไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ในช่วงวันที่ 21-23 พ.ย. ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศเวียดนามตรวจสอบสภาพก่อนออกเดินทาง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • เกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่ซึ่งอยู่ในระยะพักตัวเตรียมออกดอกควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น ไรสี่ขาและหนอนเจาะกิ่ง เป็นต้น
  • ในช่วงที่อุณหภูมิลดลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารที่ให้สัตว์น้ำลงเนื่องจากอากาศที่เย็นทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งและอุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนใยผักและด้วงหมัดผัก เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย.อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ปลูกส้มโอซึ่งอยู่ในระยะแตกใบอ่อน (ตัดแต่งกิ่ง)ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนชอนใบ แมลงค่อมทอง และโรคแคงเกอร์ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • แม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายและตายได้

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 21-23 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาด ของโรคและศัตรูพืช เช่น โรคใบจุด โรคใบไหม้ และหนอนชอนใบ เป็นต้น
  • ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 21-27 พ.ย. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน (ช่วงวันที่ 1-20 พ.ย.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม. โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคมีปริมาณฝนสะสม 300-600 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 14-20 พ.ย.) ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่บริเวณตอนกลางของภาคที่มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-30) มม.เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวกคือ 1-40 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-300 มม. เว้นแต่ทางตอนบนของภาคที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-20) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากในภาคใต้ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนน้อง เกษตรกรจึงควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และจัดทำระบบระบายน้ำบริเวณแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้นพืชเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ