พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 23 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 141/61
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 23-29 พ.ย. บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 26-28 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในภาคตะวันออกเฉียงตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล สำหรับภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 23-29 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ โดยอุณหภูมิจะลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้มีอากาศหนาวเย็นลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง
อนึ่ง พายุโซนร้อน “อุซางิ”(Usagi) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง กำลังเคลื่อนทางทิศตะวันตก คาดว่า ในช่วงวันที่ 24-26 พ.ย. จะเคลื่อนขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเป็นพายุดีเปรสชั่นและหย่อมความกดอากาศต่ำ ตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 26-28 พ.ย. ภาคตะวันอออกเฉียงตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งและอุณหภูมิจะลดลง 1-5 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับในช่วงวันที่ 27-29 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20ของพื้นที่ สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 6-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่26-29 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลงอีก 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับมีอากาศเย็นถึงหนาวและอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง สำหรับในช่วงที่มีอุณหภูมิลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยเกษตรกรควรลดปริมาณอาหารลง
- เกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่ซึ่งอยู่ในระยะพักตัวเตรียมออกดอกควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น ไรสี่ขาและหนอนเจาะกิ่ง เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 25-29 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 2-3 องศาเซลเซียส กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับอากาศเย็นในตอนเช้าและอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียสกับมีลมแรงเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนใยผักและด้วงหมัดผัก เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. มีเมฆบางส่วน และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียสกับมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้น สัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้ควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
- เกษตรกรที่ปลูกส้มเขียวหวานซึ่งอยู่ในระยะแตกใบอ่อนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนชอนใบและโรคแคงเกอร์ เป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. มีเมฆบางส่วน และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 พ.ย.อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรกักเก็บน้ำ ไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อยนอกจากนี้ควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
- เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนซึ่งอยู่ในระยะพักตัวเตรียมออกดอกควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้นทุเรียนและไรแดง เป็นต้น
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 27-29 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์75-85%
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรค ได้ง่าย
- ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรที่ปลูกเงาะซึ่งอยู่ในระยะแตกใบอ่อนและเจริญเติบโตทางใบควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช เช่น โรคใบจุดสาหร่ายและโรคราแป้ง เป็นต้น
- ในช่วงวันที่ 27-29 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน (ในช่วงวันที่ 1-22 พ.ย.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม.สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 50-600 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-600 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-300 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-300 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลางและภาคตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-30) มม. โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง และภาคตะวันออกตอนล่าง มีค่าสมดุลน้ำสะสม (-10)-(-30) มม. สำหรับภาคใต้ตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสม(-1)-(-20) มม. ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-300 มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณภาคใต้มีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับภาคใต้ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74