พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 7 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday December 7, 2018 15:36 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 7 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 147/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7-10 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 7-10 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ในขณะที่คลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศาองศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 7-12 ธ.ค. ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง และขอให้เกษตรกรบริเวณภาคใต้ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะที่ฝนตกหนักในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. นี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ และขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ตลอดสัปดาห์นี้ไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในวันที่10-13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค ทางตอนล่างของภาค มีอากาศเย็น และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็น โดยในช่วงวันที่ 10 – 13 ธ.ค.อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ ป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยง เนื่องจากในช่วงที่อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิน้ำจะลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารน้อยลง เกษตรกรควรลดปริมาณอาหารที่ให้เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำและปรับอุณหภูมิน้ำในบ่อเลี้ยง
  • ในช่วงวันที่ 8-13 ธ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 9-10 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเชลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่11-13 ธ.ค. อากาศเย็นและมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเชลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ในช่วงนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีควรวางแผนการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยและมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น รวมทั้งควรมีน้ำสำรองไว้ให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต ถ้าพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7-10 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเชลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 ธ.ค. อากาศเย็นและมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเชลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็นและมีลมแรงเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำ ที่ได้เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7-10 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ มีอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเชลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 ธ.ค. มีอากาศเย็นและมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเชลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

-ในระยะนี้ ปริมาณน้ำระเหยมีมากประกอบกับปริมาณฝนมีน้อยทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืช ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นในดินและรักษาอุณหภูมิดิน

  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต การผลิดอกออกผลลดลง และผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคมีปริมาณฝนตกน้อยเกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ รวมทั้งกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่าง ๆ ด้วย
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคควรระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวโดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ในที่ลุ่ม
  • ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวนและพืชผัก โดยดูแลพื้นที่การเกษตรให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูกป้องกันโรคดังกล่าว
  • ในช่วงวันที่ 7-13 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วง 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 7-13 ธ.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนธันวาคม (ช่วงวันที่ 1-6 ธ.ค.) ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันตกที่มีปริมาณฝนสะสม 25-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างที่มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 30 พ.ย. – 6 ธ.ค.) ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันตกที่มีปริมาณฝนสะสม 25-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างที่มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม. โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-30) มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันตก และภาคใต้ตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-300 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับภาคใต้จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยขุดลอกคูคลองทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้ตื้นเขินน้ำไหลได้สะดวก นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน และพืชผักชนิดต่างๆ ที่จะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ