พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 11 - 17 มกราคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 5/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11-15 ม.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นโดยทั่วไปกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. 62 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นโดยทั่วไปกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนน้อย
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 11-15 ม.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ประเทศมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยบน มีอากาศเย็นโดยทั่วไป และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนน้อย
คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณมีมีหมอกหนา และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 11-15 ม.ค. 62 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ ในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค.62 อากาศเย็น และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- ระยะนี้อากาศเย็นและชื้น กับมีหมอกในตอนเช้า ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะบริเวณที่มีการปลูกพืชใกล้ชิดกันมากหรือปลูกพืชในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทน้อย จะทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อพบการระบาดของโรคพืช ควรรีบควบคุมก่อนระบาดไปยังต้นอื่นๆ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 11-15 ม.ค. 62 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. 62 อากาศเย็น อุณหูมิจะลดลง 1-2 องศา และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ
- ระยะนี้มีอากาศแห้งกับมีแดดจัดในตอนกลางวันทำให้น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นภายในดิน
- เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้หอม และหนอนเจาะลำต้น เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 11-15 ม.ค. 62 มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้อากาศเย็นและชื้น กับมีหมอกในตอนเช้า เหมาะกับการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราดำในมะม่วง เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ หากพบควรฉีดล้างด้วย
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำ ที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรใช้เศษวัชพืชคลุมโคนทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่ม เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 11-14 ม.ค. 62 มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากไม้ผลได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้การติดผลลดลง และจะได้ผลผลิตที่มีขนาดเล็กคุณภาพต่ำรวมทั้งระวังศัตรูจำพวกหนอน ที่จะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
- สำหรับเกษตรกรที่มีแหล่งน้ำ เป็นของตนเอง ควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราฏษ์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนลดลง บริเวณพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณ โคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
- นอกจากนั้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ในช่วงวันที่ 1-10 ม.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. โดยภาคเหนือมีปริมาณฝนสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 10-300 มม. โดยภาคใต้ ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมมากกว่าบริเวณอื่น ส่วนทางตอนบนของภาคมีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าบริเวณอื่นๆ
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. โดยภาคเหนือมีปริมาณฝนสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 10-200 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชมีปริมาณฝนสะสม 200-300 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-35 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-30) มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคเหนือมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-70 มม. สำหรับภาคใต้มีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดชุมพรมี
สมดุลน้ำสะสม200-300 มม. ส่วนทางตอนบนและตอนล่างของภาคมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-10)-(-20) มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคเหนือมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ ส่วนปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ สำหรับภาคใต้จะมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74