พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 28 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday January 28, 2019 15:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29 ม.ค. -3 ก.พ. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส เว้นแต่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรตลอดช่วง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 29 ม.ค. - 3 ก.พ. 62 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศหนาวเย็นในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลางตลอดช่วง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 29 ม.ค. -3 ก.พ. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพรักษาให้แข็งแรง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 13-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 28-30 ม.ค.ยังคงมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • จากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรที่ปลูกถั่วเหลือง ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนกระทู้ผัก หนอนม้วนใบ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 - 31 ม.ค. 62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.พ. 62 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • จากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพราะควันไฟจะบดบังการมองเห็น จนอาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุบนท้องถนนได้
  • เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ไม่ควร ตากไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย จาก หมอกและน้ำค้างได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 - 31 ม.ค. 62 ทางตอนบนของภาคอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.พ. 62 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียสและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ไม่ควรตากไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย จากหมอกและน้ำค้างได้ รวมทั้งควรระมัดระวังในขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา
  • สำหรับสภาพอากาศที่แหง ทำให้น้ำผิวดินระเหยไดมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไมฟางข้าว เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 28 - 29 ม.ค. และ 2 - 3 ก.พ. 62 ทางตอนบนของภาคอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. - 1 ก.พ. 62 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียสและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังเมื่อต้องสัญจร ผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แหง เกษตรกรควรระวังป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก โรงเก็บพืชผลทางการเกษตร และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสวนยางพารา เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวน เพราะอาจลุกลามได

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 28 - 31 ม.ค. 62 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่ง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.พ. 62 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อยและไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งควรกักเก็บน้ำเอาไวเพื่อจะไดมีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงแลง
  • จากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรควรระวังและป้องกันการ ระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงพืช ทำให้ต้นพืชเสียหายได้
  • อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะนี้
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 28 ม.ค. - 3 ก.พ. 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ในช่วงวันที่ 1-27 ม.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 5 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าการคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกตอนบนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ (-20)-(-40) มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกตอนบนมีค่าสมดุลน้ำ (-30)-(-40) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิ จะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส แต่ยังคงทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝน ฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ