พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 4 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday February 4, 2019 13:34 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 4 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 15/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4 - 10 ก.พ. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนบางแห่ง เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 4 - 10 ก.พ. 62 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ในขณะที่ลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนทำให้ภาคเหนือตอนบนมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้

คำเตือน ในช่วงวันที่ 4 - 10 ก.พ. จะมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาบางพื้นที่ เกษตรกรควรระมัดระวังการใช้รถใช้ถนนขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 15-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • จากสภาพอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะทำให้ผลผลิตเปียกชื้นและเสียหายได้
  • จากสภาพอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง ในพืชไร่และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง

และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 4 - 6 ก.พ. 62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียสส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 ก.พ. 62 จะมีฝนเล็กน้อยบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • จากสภาพอากาศที่แห้ง การระเหยของน้ำมีมากเกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นภายในดิน
  • นอกจากนี้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะบดบังการมองเห็น จนอาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 4-10 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ โดยจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระมัดระวังในการ
สัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะทำให้เปียกชื้นและเสียหายได้
  • จากสภาพอากาศที่มีหมอกในตอนเช้า ซึ่งเหมาะกับการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในองุ่นโรคใบไหม้ในพืชตระกูลหอม เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ

แปลงปลูก หากพบควรรีบควบคุม

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางแห่ง อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของ
พืช ทำ ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 - 6 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80 %

ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วงลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ แต่ปริมาณมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลง
ปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และเป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
  • จากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจาพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟ และไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้าเลี้ยงพืช ทำให้ต้นพืชเสียหายได้
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 4 - 10 ก.พ. 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ช่วงวันที่ 1-3 ก.พ.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของภาค

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 28 ม.ค. -3 ก.พ.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของภาคศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.

สมดุลน้ำ ประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำ เป็นลบ คือ (-10) - (-30) มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคใต้ตอนบนและตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก คือ 1-40 มม.

คำแนะนำ ช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว ไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายจากหมอกและน้ำค้างได้ และเนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนบางพื้นที่ตลอดช่วง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช จำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ