พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 6 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 16/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6 - 9 ก.พ. 62 บริเวณภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรกกับมีลมกระโชกแรง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 6 - 9 ก.พ. 62 มีลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง และมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้นำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. 62 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรกกับมีลมกระโชกแรง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 6-9 ก.พ. 62 บริเวณภาคเหนือจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. 62 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 6 - 10 ก.พ. 62 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 11-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 12 ก.พ. 62 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ในตอนเช้าจะมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- ในช่วงวันที่ 11 - 12 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย และหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 6 - 9 ก.พ. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย
- ในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฟ้าคะนอง
- เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อย
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 6 - 9 ก.พ. 62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรใช้น้ำ ที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
- ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- ในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 6 - 9 ก.พ. 62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณ หภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักสำหรับบางช่วงจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราดำ โดยฉีดน้ำบริเวณทรงพุ่ม ก็จะลดการระบาดของโรคดังกล่าวได้
- ในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 6 - 9 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 6 - 9 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำ กว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ปริมาณ และการกระจายของฝนมีน้อยเกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง
- เนื่องจากฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอโดยเฉพาะทางตอนบนและตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
- สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูกและหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 30 ม.ค. – 5 ก.พ.) ) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่บริเวณตอนบนและตอนล่างของภาค
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม. เว้นแต่บริเวณภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-35 มม.
สมดุลน้ำ ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ คือ (-10) - (-40) มม. เว้นแต่บริเวณภาคใต้ตอนบนและตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำ เป็นบวก คือ 1-40 มม.
คำแนะนำ ช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้น และจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เว้นแต่ภาคเหนือจะมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับภาคใต้มีฝนบางพื้นที่ตลอดช่วง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชเสียหายได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74