พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 11 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 18/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11 - 12 ก.พ. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น และในช่วงวันที่ 13 - 15 ก.พ. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สาหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.พ. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สาหรับภาคใต้มีฝนลดลง
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 11 - 15 ก.พ. 62 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่มาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.พ. 62 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนาความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาว สาหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกาลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 11-13 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร รวมควรทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ในขณะที่มีลมแรง สำหรับบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ เกษตรกรควรระมัดระวังขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 11 – 12 ก.พ. 62 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 ก.พ. 62 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. สาหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- สาหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
- ในช่วงวันที่ 11-12 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ในขณะที่มีลมแรง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.พ. 62 อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 16-17 ก.พ. 62 มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- เนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อย
- ในช่วงวันที่ 16-17 ก.พ. จะมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาบางพื้นที่ เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายได้
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.พ. 62 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.พ. 62 มีหมอกในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 12-15 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ใต้ต้นไม้ใหญ่และป้ายโฆษณาสูงๆ
- สำหรับฝนที่ตกในช่วงนี้ ปริมาณมีน้อยและไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.พ. 62 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.พ. 62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวันโดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 65-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 12-15 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
- เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้าให้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง
- จากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจาพวกปากดูด ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณ ที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 11-13 ก.พ. จะมีฝนเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้าเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และเป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
- จากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจาพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟ และไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงพืช ทำให้ต้นพืชเสียหายได้
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.พ. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ในช่วงวันที่ 1-10 ก.พ. ) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่าง สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 4-10 ก.พ.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่บริเวณทางตอนบนของภาค
ศักย์การคายระเหยนาสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลนา ประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำ เป็นลบ คือ (-20) - (-40) มม. เป็นส่วนใหญ่ โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำ เป็นลบ สูงกว่าบริเวณอื่นๆ
คำแนะนำ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 11 - 12 ก.พ. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และเป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74