พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 22 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 23/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ สำหรับในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และจะมีพายุฝน ฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. ลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ในขณะที่มีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
คำเตือน ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกัน การเจ็บป่วย สำหรับในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 14-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีอากาศร้อน ในตอนกลางวัน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
- เกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่ควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น มวนลำไยและไรสี่ขา เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. ทางตอนบนของภาคอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง
- เกษตรกรที่ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังควรระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น แมลงนูนหลวง เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 22-25 ก.พ. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง
- เกษตรกรที่ปลูกส้มโอควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย และหนอนชอนใบเป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณชายฝั่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศา เซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหาย
- เกษตรกรที่ป ลูกทุเรียน ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้ง หนอนกินขั้วผลและหนอนเจาะลำต้นทุเรียน เป็นต้น
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณ ที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำ ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- ในช่วงที่มีฝนตกน้อยและไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสมและควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและเป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
- เกษตรกรที่ปลูกทุเรียน ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟและหนอนเจาะลำต้นทุเรียน เป็นต้น
ปริมาณฝนสะสมเดือนกุมภาพันธ์ (ในช่วงวันที่ 1-21 ก.พ.) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่างด้านตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ทางตอนล่างของภาคที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ในช่วงวันที่ 15-21 ก.พ.) บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่า บริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำ ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ คือ (-1) - (-40) มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและด้านตะวันออกที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก คือ 1-70 มม.
คำแนะนำ สัปดาห์ที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็น ในตอนเช้า ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเนื่องจากอุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนที่แตกต่างกันมาก อีกทั้งควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจเกิดขึ้นได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74