พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 6 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 28/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้เป็นบางพื้นที่ตลอดช่วง
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิ สูงขึ้นกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวันตลอดช่วง ประกอบกับในช่วงวันที่ 6-8 และ 10-11 มีนาคม มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีอากาศร้อนในตอนกลางวันตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากลมกระโชกแรง นอกจากนี้ควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม
- เกษตรกรที่ปลูกลำไยควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผลและมวนลำไย เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมี ลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 9-12 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากลมกระโชกแรง นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและเป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
- เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น แมลงนูนหลวง เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับฝนเล็กน้อยบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย รวมทั้งให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม
- เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น แมลงวันทอง เป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 6-7 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-12 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม
- เกษตรกรที่ปลูกลองกองควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้งและเพลี้ยอ่อนเป็นต้น
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก มีเมฆบางส่วน ในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก มีเมฆบางส่วน ในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค.จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- ในช่วงที่มีฝนตกน้อยและไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสมและควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าวและหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและเป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
- เกษตรกรที่ปลูกกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะกิ่งและหนอนเจาะลำต้นเป็นต้น
ปริมาณฝนสะสมเดือนมีนาคม (ช่วงวันที่ 1-5 มี.ค.) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. ฝนส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. โดยฝนส่วนใหญ่อยู่บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม. เว้นแต่บริเวณภาคกลาง ด้านตะวันตก และภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 35-40 มม.
สมดุลน้ำ ประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำเป็นลบเป็นส่วนใหญ่ คือ (-20) - (-40) มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก คือ 1-40 มม.
คำแนะนำ ช่วงที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำเป็นลบเป็นส่วนใหญ่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทย จะมีฝนน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอและควรใช้น้ำอย่างประหยัด รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและมีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งเป็นเวลานาน หากต้องทำงานกลางแจ้งหรือบริเวณที่มีอากาศร้อนเป็นเวลานานควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันผิวไหม้ และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74