พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday March 22, 2019 15:22 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 34/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปตลอดช่วง และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 23 - 26 มีนาคม 2562 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 20 - 22 มีนาคม 2562 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 มีนาคม 2562 บริเวณความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวฝนเพิ่มมากขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 23 - 26 มี.ค. 62 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และควรอยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงสำหรับเกษตรกรควรระมัดระวัง และป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20 - 23 มี.ค. 62 อากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 24 – 26 มี.ค. 62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 24-26 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน พืชผลและผลผลิตทางการเกษตร
  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกรวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดและเจ็บป่วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20 - 22 มี.ค. 62 อากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 26 มี.ค. 62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 23-26 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน พืชผลและผลผลิตทางการเกษตร
  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกรวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลสภาพน้ำ ให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20 - 23 มี.ค. 62 อากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24 – 26 มี.ค. 62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 24-26 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน พืชผลและผลผลิตทางการเกษตร
  • จากภาวะอากาศร้อนและลมแรงในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร และอาคารบ้านเรือน
  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกรวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20 - 22 มี.ค. 62 อากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 26 มี.ค. 62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 23-26 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ผลอาจร่วงหล่น เนื่องจากลมกระโชกแรง
  • สำหรับฝนที่ตกในช่วงนี้มีปริมาณน้อย และไม่เพียงพอกับความต้องการของไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลเกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม เพื่อป้องกันผลแคระแกร็นและร่วงหล่น รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช จำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 23 มี.ค. 62 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 24 – 26 มี.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20 - 23 มี.ค. 62 อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 24 – 26 มี.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่มีฝนตกน้อยและไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสมและควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำและเป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในตอนกลางวันเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 20-26 มีนาคม 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมีนาคม (ช่วงวันที่ 1-19 มี.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดตากระยอง และตราด ที่มีฝนสะสม 50 – 100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดตาก และระยอง ที่มีฝนสะสม 50 – 100 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางด้านตะวันตก และภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 35-40 มม.

สมดุลน้ำ ประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำเป็นลบเป็นส่วนใหญ่ คือ (-20) - (-40) มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดตากและระนองที่มีสมดุลน้ำเป็นบวก ที่ 10-20 มม.

คำแนะนำ ช่วงที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำเป็นลบเป็นส่วนใหญ่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยจะมีฝนน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอและควรใช้น้ำอย่างประหยัด รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและมีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งเป็นเวลานาน หากต้องทำงานกลางแจ้งหรือบริเวณที่มีอากาศร้อนเป็นเวลานานควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันผิวไหม้ และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ