พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 12 - 18 เมษายน พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 44/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 13 - 16 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ และจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นเป็นบางแห่ง โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางแห่ง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
ลักษณะสำคัญทาง ในช่วงวันที่ 13 - 16 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะดังกล่าวในระยะสัปดาห์นี้ไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 16 เม.ย. บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า และลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
- สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงนี้ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอก็จะสามารถปลูกพืชได้
- ในช่วงวันที่ 14-16 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผลผลิตการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 13 - 16 เม.ย. มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงอุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 13-16 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรทิ้งไว้กลางแจ้ง ในช่วงดังกล่าวเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
- ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 12 - 13 และ ในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
- สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนในระยะนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อาจใช้พัดลมดูดและเป่าอากาศเข้าช่วย นำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในบริเวณโรงเรือน หรือฉีดน้ำเป็นฝอยบริเวณโรงเรือน และฉีดน้ำบริเวณหลังคา
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 13 - 16 เม.ย. มีอากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. มีอากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 13-16 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจวัสดุและอุปกรณ์ที่ผูกยึดค้ำยันกิ่ง และลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
- ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นตลอดจนเปลือกผลไม้กองสุมอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และออกดอก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ดอกร่วงหล่น ผลผลิตลดลง
- ส่วนชาวสวนยางพารา ระยะนี้สภาพอากาศแห้งและร้อน เกษตรกรควรระวังและป้องกัน การเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
- อนึ่ง ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้นก่อนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรุ่นใหม่ควรเตรียมพื้นที่เอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝน และความชื้นในดินเพียงพอ ก็สามารถปลูกพืชได้
ปริมาณฝนสะสมเดือนเมษายน (ช่วงวันที่ 1-11 เมษายน) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกบริเวณชายฝั่งทางตอนล่างของภาค ที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 30-45 มม. โดยบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำ ประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-40) มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกด้านตะวันออกและตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำ 10-70 มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งควรสวมเสื่อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากปริมาณน้ำมีน้อย จะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด สำหรับในบางพื้นที่จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งสำรวจวัสดุและอุปกรณ์ที่ผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74