พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 24 - 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Wednesday April 24, 2019 14:57 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 24 - 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 49/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในระยะนี้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 24-25 และ 29-30 เม.ย.62 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย.62 บริเวณประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกก่อน สำหรับภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้น

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 24-25 และ 29-30 เม.ย.62 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย.62 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง จะมีกาลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทาให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรที่ต้องทางานกลางแจ้งในตอนกลางวันเป็นเวลานาน ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่ายกายขาดน้ำ สาหรับในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย.62 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 24-26 และ 29-30 เม.ย.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 27-28 เม.ย.62 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-20 กม./ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวไหม้เกรียม และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ
  • จากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรที่ปลูกกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยต่างๆ ศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชทรุดโทรมเสียหายได้
  • ในช่วงวันที่ 27-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสถาวะดังกล่าว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 24-25 และ 29-30 เม.ย.62 มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย.62 มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน ทำให้ปริมาณน้ำระเหยออกจากแหล่งน้ำมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากปริมาณน้ำมีน้อย จะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด และเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 24-26 และ 29-30 เม.ย.62 อากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 เม.ย. 62 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • จากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยฉีดน้ำเป็นละอองฝอยในโรงเรือน หรือฉีดน้ำบริเวณหลังคา รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ
  • ในช่วงวันที่ 27-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้ง ขณะฟ้าคะนอง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 24-25 และ 29-30 เม.ย.62 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย.62 มีอากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงกับลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • จากสภาวะอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน ทำให้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำ และเป็นการรักษาความชื้นในดิน
  • ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรสำรวจวัสดุและอุปกรณ์ที่ผูกยึดค้ำยันกิ่ง และลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 24-26 และ 30 เม.ย.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ในภาคใต้ ปริมาณและการกระจายของฝนยังมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพสภาพ
  • จากสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยง สัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วย
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วง 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 24-30 เม.ย. 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนเมษายน (ในช่วงวันที่ 1-23 เมษายน) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-150 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 35-45 มม. โดยภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ (-10)-(-40) มม. เว้นแต่บางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีค่าสมดุลน้ำ 1-40 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ