พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 50/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ระยะนี้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. บริเวณประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ สำหรับภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 เม.ย. - 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง
- เกษตรกรที่ปลูกลำไยควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผลและมวนลำไย เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มี ฝนตกน้อย
- เกษตรกรที่ปลูกอ้อยควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น ด้วงหนวดยาวและหนอนกอ เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย
- เกษตรกรที่ปลูกส้มเขียวหวานควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟและเพลี้ยไก่แจ้ เป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-60 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงกับลูกเห็บตก บางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
- เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะผลและหนอนเจาะลำต้นทุเรียน เป็นต้น
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 และ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ตลอดช่วง เกษตรกร ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- ในช่วงที่มีฝนตกน้อยและไม่เพียงพอกับความต้องการ ของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ
- เกษตรกรที่ปลูกเงาะควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผลและเพลี้ยแป้ง เป็นต้น
ปริมาณฝนสะสมเดือนเมษายน (ในช่วงวันที่ 1-25 เมษายน) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ ในบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออกและทางตอนล่างของภาค ภาคกลางตอนกลาง ภาคตะวันออกตอนบนและบริเวณชายฝั่ง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่บางพื้นที่ในภาคเหนือบริเวณจังหวัดแพร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดนครพนม ร้อยเอ็ดและภาคกลางบริเวณกรุงเทพมหานครที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 35-45 มม. เป็นส่วนใหญ่
สมดุลน้ำ ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ คือ (-10) - (-40) มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก คือ 1-40 มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองกับฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนจะยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74