พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 57/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค.62 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค.62 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง ภาคใต้ยังคงฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค.62 แนวลมที่พัดเข้าหากันของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้จะมีกาลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางตลอดช่วง
คำเตือน ช่วงวันที่ 13-16 พ.ค.62 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับภาคใต้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรงตลอดช่วง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค.62 มีอากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค.62 มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู จะมีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เสี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค.62 มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 62 มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู จะมีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่าเสมอ และดินมีความชื้นเพียงพอแล้วค่อยลงมือปลูกพืช
- สาหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เสี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 13–16 พ.ค.62 มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค.62 มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 13–16 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานที่ต้องการปลูกพืชในช่วงต้นฤดูฝนที่จะมาถึงนี้ ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้พร้อมก่อน เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอ และดินมีความชื้นเพียงพอ จึงทำการเพาะปลูก
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค.62 มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค.62 มีเมฆบางส่วน มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันจากสภาวะดังกล่าว และควรจัดทาระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงเพาะปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้าฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 13–16 พ.ค.62 มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค.62 มีเมฆบางส่วน มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค.62 มีเมฆเป็นส่วนมาก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค.62 มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่าสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ภาคใต้ปริมาณและการกระจายของฝนมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาคเกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมแปลงเพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
- จากสภาวะที่มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจาพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
- ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-12 พฤษภาคม) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคกลางบางพื้นที่ ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-300 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคกลางบางพื้นที่ ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-200 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-40 มม. โดยภาคเหนือและภาคกลางมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-40) มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีค่าสมดุลน้ำ 40-150 มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรควรระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจาพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทาให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74