พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 61/62
การคาดหมายลักษณะ ในช่วงวันที่ 22-23 พ.ค.62 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 พ.ค.62 บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง สำหรับในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค.62 ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ตลอดช่วง
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 22-23 พ.ค.62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย พัดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 พ.ค.62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สำหรับในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค.62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางตลอดช่วง
คำเตือน ระยะนี้ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 22-23 พ.ค. จะมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป์องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย อนึ่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 22-23 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 24-26 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในระยะนี้ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลหลังคาโรงเรือนให้มีความแข็งแรง อย่าให้มีรอยรั่วซึมพร้อมทั้งจัดทำแผงกำบังฝนสาดให้กับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เพื่อป์องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 22-23 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 24-26 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่
ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเสริมขอบบอให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อปองกันน้ำฝนที่ตกในบริเวณข้างเคียงไหลลงบอ เพราะจะทำใหสภาพน้ำเปลี่ยน สัตวน้ำปรับตัวไมทัน ออนแอและเปนโรคไดง่าย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 22-23 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง
ในช่วงวันที่ 24-26 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่
ส่วนในช่วงวันที่ 27- 28 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยจัดทำระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป์องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเสริมขอบบ่อให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อปองกันน้ำฝนที่ตกในบริเวณข้างเคียงไหลลงบอ เพราะจะทำใหสภาพน้ำเปลี่ยน สัตวน้ำปรับตัวไมทัน ออนแอและเปนโรคไดง่าย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยควรจัดทำระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป์องกันน้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
- สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ต้นพืชฟื้นตัวได้เร็ว
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 22-25 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพูในยางพารา เป็นต้น
- ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-21 พฤษภาคม) บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 5-100 มม. โดยภาคใต้ตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-150 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 25-45 มม. โดยภาคเหนือตอนบน และตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-40) มม. เว้นแต่ภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง มีค่าสมดุลน้ำ 10-150 มม. คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74